คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกมักมีอาการท้องอืด ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวและรู้สึกเหมือนมีลมตลอดเวลา อาการเหล่านี้มาจากการที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ
สาเหตุของการท้องอืด
ฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน
ฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนทำให้การตั้งครรภ์ของทั้งคุณแม่และลูกน้อยสุขภาพดี😌 แต่ก็มีข้อเสียคือฮอร์โมนนี้จะทำให้กล้ามเนื้อเรียบมีอาการคลายตัวลง รวมไปถึงกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เคลื่อนไหวช้าลงและทำให้มีอาหารติดอยู่ในทางเดินอาหารนานขึ้น ก็จำทำให้เกิดการสร้างแก๊สตามมานั่นเองค่ะ🧻
อาการท้องอืดของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
สาเหตุอาการท้องอืดของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกนั้น🤰 สามารถเกิดจากปัจจัยอื่นนอกจากการมีฮอร์โมนสูงเช่นกัน เช่นการ เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หรือ การรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดการสร้างแก๊ส การทานอาหารอย่างรวดเร็วโดยที่ยังเคี้ยวไม่ละเอียดก็จะทำให้เกิดลมในทางเดินอาหารได้😫
การรับประทานผลิตภัณฑ์นม🥛ก็อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้การย่อยไม่ดี และรู้สึกแน่นท้อง เพราะคุณแม่บางท่านขาดเอนไซม์แลคเตส บล็อกโคลี่ ผักกะหล่ำ ผักคะน้า ถั่ว หรือ หัวหอม ก็เป็นอาหารที่ทำให้ผลิตแก๊สมากขึ้นเช่นกันค่ะ
วิธีลดปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ
😶 ลองศึกษาและจดบันทึก อาหารที่คุณแม่สามารถรับประทานได้ หรือไม่สามารถรับประทานได้ และลองสังเกตุว่าเวลาทานอาหารประเภทไหนจะทำให้เกิดแก๊สมากขึ้น แล้วพยายามทานให้น้อยลง
😶 แม้ว่าผัก🥦จะเป็นสาเหตุในการสร้างแก๊สได้ แต่คุณแม่ก็ยังควรรับประทานผักเพราะ ผักนั่นมีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยนั่นเองค่ะ แต่สำหรับถั่วนั่นสามารถสร้างแก๊สในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วในปริมาณมากนะคะ
😶 พยายามทานอาหารในแต่ละมื้อในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งขึ้น จะทำให้ปริมาณอาหารค่อยๆ เคลื่อนลงสู่ลำไส้ทีละน้อย และทำให้เกิดแก๊สน้อยลงนั่นเองค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นการเคี้ยวอาหารอย่างละเอียดก็สามารถช่วยให้ลดปริมาณอากาศที่กลืนเข้าไปได้ด้วยนะคะ🤗
😶 การเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างการยืดเส้นยืดสาย การเดินหลังรับประทานอาหารจะช่วยให้ร่างกายขับลมได้ดีขึ้นนั่นเองค่ะ🏊♀️