post-title

ทำไมถึงเกิดตะคริวในช่วงตั้งครรภ์

การเป็นในช่วงไตรมาสแรกเป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวเล็กน้อยและอาการจะดีขึ้นเอง แต่คุณแม่บางคนอาจเป็นตะคริวบริเวณมดลูกซึ่งเป็นสัญญาที่บ่งบอกถึงอาการแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ จึงควรปรึษาแพทย์โดยด่วนนะคะ👩‍⚕️ 


การเกิดตะคริว

✨กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณมดลูกขยายตัว

กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณมดลูกขยายตัวจนทำให้เกิดอาการปวด โดยส่วนมากมักจะมีอาการในช่วงไตรมาสที่แรก หรือ 0-3 เดือน🤰 และมดลูกของคุณแม่ในช่วงนี้จะมีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นทำให้รู้สึกหนักบริเวณหน้าท้องและทำให้กล้าม เนื้อบริเวณหน้าท้องช่วงล่างเป็นตะคริวได้ ซึ่งอาจเกิดด้านใดด้านหนึ่งหรืออาจเกิดได้พร้อมกันหลายๆ ที่😟

✨มดลูกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม

มดลูกอาจอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม🙅‍♀️ของอุ้งเชิงกรานโดยอาจยื่นมาข้างหน้า เหนือกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจอยู่ตำแหน่งข้างหลัง โดยเมื่อมดลูกขยายตัวจะทำให้เบียดอวัยวะอื่นทำให้เกิดตะคริวจากผลการกระตุ้นระบบประสาท

✨ถุงซีสต์

อีกสาเหตุที่เป็นไปได้ของการเกิดตะคริวคือ ถุงซีสต์คอร์ปัสลูเทียม (Corpus luteal cyst) ซึ่งเป็นถุงน้ำที่ควรจะสลายตัวไปเมื่อ ไข่ปฏิสนธิกับสเปิร์ม หากถุงน้ำนี้ไม่ละลายหายไป☹️ก็จะทำให้เกิดการสะสมของเหลวและเกิดซีสต์จึงทำให้เกิดตะคริวได้นั่นเองค่ะ


ตะคริวหนอตะคริว...

✨การยืนเป็นระยะเวลานาน

การยืนนานๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดตะคริวได้โดยอาจเป็นมากในช่วงท้ายของวัน การไอ จาม หรือหัวเราะก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิกตะคริวได้เช่นกันค่ะ😞 

✨การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

แม้ว่าในช่วงแรกลูกน้อยจะยังมีขนาดตัวที่เล็กมาก🤰แต่เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้คุณแม่เป็นตะคริว การบีบตัวของมดลูกในระดับน้อยจะสามารถทำให้ปวดหน่วงบริเวิญเชิงกราน ทำให้มีอาการเป็นตะคริวเล็กน้อยโดยจะมีอาการคล้ายปวดท้องประจำเดือน🩸 โดยอาจปวดด้านซ้ายและขวาไม่เท่ากัน

✨เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ไส้ติ่ง หรือการติดเชื้อ

การเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ไส้ติ่ง หรือการติดเชื้อ🦠ก็เป็นอีกสาเหตุของการเป็นตะคริวได้ อาการแสบร้อนบริเวณอกจากกรดไหลย้อนอาการท้องผูกก็ทำให้เป็นตะคริวได้เช่นกัน

✨การมีเพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์🥰ก็สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดตระคริวได้เช่นกัน รวมถึงการถึงจุดสุดยอดทางเพศ เพราะเส้นเลือดบริเวณเชิงกรานจะเกิดการโป่ง มดลูกจะบีบตัวในเวลาสั้นๆ และจะทำให้มีอาการปวดตะคริวเกิดขึ้นได้ค่ะ


วิธีการจัดการกับตะคริว

✨ปรับเปลี่ยนท่านอน 

คุณแม่สามารถลองปรับเปลี่ยนท่านอน🤰 โดยให้นอนตะแคงและพาดขาบนหมอนข้าง การยืดเหยียดรวมถึงการออกกำลังกายเบา ๆก็จะสามารถช่วยลดอาการการเป็นตะคริวได้ 

✨อาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่น สวมเสื้อผ้าที่สบาย ๆ และ การทำใจให้ผ่อนคลาย ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดตะคริวได้และคุณแม่ไม่ควร นั่งหรือนอนนานเกินไปนะค่ะ 

✨ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ดื่มน้ำให้เพียงพอและอย่าอั้นปัสสาวะ🙅‍♀️ การปัสสาวะ🚽จะทำให้ระบบลำไส้ถูกเบียดน้อยลงทำให้โอกาสในการเป็นตะคริวลดลงเช่นกันค่ะ

หากคุณแม่ท่านใดเป็นตะคริวในช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ ให้รีบไปปรึกษาพบแพทย์👩‍⚕️🏥 นะคะ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีได้นะคะ