post-title

ควรตรวจอะไรบ้างในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 (สัปดาห์ที่ 15-28) ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะเก่งมากๆเลยค่ะ!🤰 ทีนี้คุณแม่อาจจะสงสัยว่าแล้วมีอะไรที่จำเป็นจะต้องตรวจในช่วงของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 นี้บ้างใช่ไหมคะ? อย่ารอช้าเราไปดูกันเลยค่ะ!


สิ่งที่ต้องตรวจในไตรมาสที่ 2

การตรวจเบาหวาน

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน เช่น คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป หรือ คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะสูงควรเข้ารับการตรวจเบาหวานนะคะ🩺 

ซึ่งหากเป็นเบาหวานในขณะที่ตั้งครรภ์🤰อาจส่งผลกระทบต่อทารกทำให้พิการแต่กำเนิด หรือทำให้ทารกตัวโต (macrosomia) โดยมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัมได้😟

ตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์

ในไตรมาสที่ 2 คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำ หรือสามารถตรวจ NIPT โดยการตรวจจากเลือด🩸 โดยการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในครรภ์จากเลือดของมารดาจะสามารถหาความเสี่ยงของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ได้ ทั้งยังสามารถบอกถึงโครโมโซม🧬เพศของทารกในครรภ์ และยังสามารถหาความผิดปกติของโครโมโซมอื่นที่สำคัญได้อีกด้วย

อัลตราซาวด์ 

คุณพ่อคุณแม่สามารถอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศ และติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์👶อย่างต่อเนื่อง การอัลตราซาวด์จะสามารถตรวจโครงสร้างตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเพื่อดูความผิดปกติ อย่างการผิดปกติของหัวใจ❤️ การดูว่าลูกน้อยมีมือและเท้าครบหรือไม่ หรือ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ การอัลตราซาวด์✔️ยังสามารถทำนายการคลอดก่อนกำหนดโดยวัดจากความยาวของปากมดลูก และยังสามารถตรวจหาการเกิดภาวะรกเกาะต่ำจากการตรวจตำแหน่งรกได้นั่นเองค่ะ


ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม🩺 หรือการตรวจ NIPT ได้แก่ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ครอบครัวมีประวัติโครโมโซมผิดปกติ🧬  คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการคลอดบุตร👶ที่มีความผิดปกติของโครโมโซม หรือ คุณแม่ตั้งครรภ์🤰ที่ทำอัลตราซาวด์แล้วพบว่ามีโอกาสที่ทารกจะมีโครโมโซมผิดปกติ