post-title

อาการปวดของกระดูกหัวเหน่าในหญิงตั้งครรภ์

อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า หรือ Pubic Bone ในช่วงตั้งครรภ์นั้นมีอาการอย่างไร? และจะมีวิธีการรับมือกับความปวดเหล่านี้ในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันพร้อมๆกันเลยค่ะ  


อาการปวดกระดูกหัวเหน่าคือ?

ปวดกระดูกหัวเหน่ามีลักษณะอย่างไร?

อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า (Pubic Bone) ในช่วงตั้งครรภ์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  Symphysis Pubic Diastasis (SPD) โดยเกิดจากการปล่อยฮอร์โมน Relaxin ในช่วงที่คุณแม่ใกล้คลอด ทำให้อุ้งเชิงกรานและกระดูกหัวเหน่าหลวมขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการคลอดของคุณแม่✔️ 

หากกระดูกมีการแยกมากเกินไปจะเป็นอะไรไหม?

แต่ในบางกรณี กระดูกมีการแยกมากเกินไป ทำให้มีอาการปวดในช่วงที่ใกล้คลอด😞 หรือ อาจปวดช่วงหลังคลอด 6 สัปดาห์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า postpartum period ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เมื่อเริ่มมีอาการเดิน🥿ที่ไม่สะดวก ฮอร์โมน Relaxin จะทำให้เกิดความหลวมและหย่อนยานของเนื้อเยื่อเอ็นส่วนกระดูกเชิงกราน ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดเวลาเดิน ยืน หรือ เคลื่อนที่


การรับมือกับอาการปวดกระดูกหัวเหน่า

ลองใช้อุปกรณ์ช่วย

การรักษาสมดุลกระดูกเชิงกรานทำให้โดยการใช้อุปกรณ์รัดท้องสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่า เปลก่อนคลอด (Prenatal Cradle) เพื่อลดแรงกดดันและความเครียดที่หลังส่วนล่าง จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้😃 

ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้กายภาพบำบัดช่วยร่วมด้วย หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง และการยืนเป็นเวลานาน ให้เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม🥿กับหญิงตั้งครรภ์✔️ หากคุณแม่ต้องยื่นนานๆ ให้ประคบอุ่นบริเวณกระดูกเชิงกราน ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการทานยาแก้ปวดและไม่ควรทานยาเอง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย การทำตามคำแนะนำของหมอจะดีที่สุดนะคะ👨‍⚕️