เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยล้า โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ความเหนื่อยล้าเหล่านี้เกิดมาจากกอะไร และเราจะมีวิธีรับมือกับความเหนื่อยล้าเหล่านี้ได้อย่างไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ
ความเหนื่อยล้าในหญิงตั้งครรภ์
💡อาการเหนื่อยล้าของการตั้งครรภ์เป็นอย่างไร?
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียได้ง่าย😫 ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะในช่วงที่ตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะต้องทำงานหนักมากขึ้น ทราบหรือไม่ว่าหัวใจ🫀ของคุณแม่จะทำงานหนักมากขึ้นถึง 50% เลยทีเดียวค่ะ เมื่อเม็ดเลือดแดงต้องนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้นก็จะทำให้คุณแม่มีอาการเหนื่อยมากขึ้น
โดยยังมีการเพิมปริมาณน้ำในร่างกายขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นผลให้เลือดแดง🩸จางลงจึงทำให้เหนื่อยมากขึ้นค่ะ รวมถึงการที่สรีระร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เหนื่อยได้ง่ายด้วยค่ะ
💡ความเหนื่อยล้าเริ่มต้นเมื่อไหร่?
ความเหนื่อยล้าสามารถเริ่มได้ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์🤰 คุณแม่หลายคนสังเกตเห็นอาการได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ
สาเหตุของความเหนื่อยล้า
💡การสร้างรก
ร่างกายของคุณแม่กำลังสร้างรกเพื่อจัดหาสารอาหารและออกซิเจน😮💨ให้กับลูกน้อย เพื่อให้ลูกน้อยเจริญเติบโต ดังนั้นคุณแม่จึงรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกตินั่นเองค่ะ
💡ฮอร์โมน
การผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยในการผลิตน้ำนมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภายภาคหน้า🤱 รวมถึงอารมณ์แปรปรวนรุนแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยและเพลียเร็วขึ้นด้วยค่ะ
💡เลือดหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น
ลูกน้อยของคุณแม่ต้องการเลือด สารอาหาร และออกซิเจนในปริมาณมาก👶 และขั้นตอนการขนส่งสิ่งเหล่านี้ไปหาทารกทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยล้านั่นเองค่ะ
💡 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอื่น ๆ
เนื่องจากทารกในครรภ์ของคุณแม่กำลังรับสารอาหารและพลังงานจากคุณแม่ ดังนั้นน้ำตาลในเลือด ความดัน และสารอาหารของคุณแม่จึงลดลง คุณแม่จึงย่อมรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ😥
การรับมือกับอาการเหนื่อยล้า
💡ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนและการนอนหลับ
หากรู้สึกเหนื่อย 😩 ให้พยายามพักผ่อนให้มากที่สุดและอย่าฝืนตัวเอง การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและงีบหลับในตอนกลางวันหรือช่วงหยุดทำงานจะช่วยให้คุณแม่มีพลังงานเพิ่มขึ้น💤 การนอนหลับเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมงสามารถสร้างความแตกต่างได้นะคะ!
💡กินทีละน้อย แต่กินบ่อยๆ
การรับประทานอาหาร 5-6 มื้อแทนอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อต่อวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและสารอาหารของคุณแม่ให้คงที่ รวมถึงการที่คุณแม่น้ำหนักขึ้นเป็นเรื่องปกติระหว่างตั้งครรภ์เพราะคุณแม่ไม่ได้ทานเพื่อตัวคุณเองเท่านั้นแต่เพื่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยไงค่ะ🍲