post-title

อาการท้องแข็งในหญิงตั้งครรภ์

หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินหรือประสบกับอาการท้องแข็งมาก่อนแล้ว อาการท้องแข็งในหญิงตั้งครรภ์มีสาเหตุจากอะไรบ้างเราไปดูกันค่ะ


อาการท้องแข็งจากมดลูกบีบตัว

อาการท้องแข็งจากมดลูกบีบตัว เป็นอาการที่มดลูกในครรภ์ของคุณแม่มีอาการแข็งทั้งหมด และมีอาการปวดท้องคล้ายประจำเดือนร่วมด้วย โดยจะแตกต่างจากอาการท้องแข็งจากสาเหตุเด็ก👶โก่งตัว สาเหตุของอาการแข็งท้องจากมดลูกบีบตัวคือ

ท้องแข็งจากมดลูกบีบตัวก่อนกำหนด

อาการของการท้องแข็งลักษณะนี้จะพบบ่อยในการตั้งครรภ์อายุ 28-32 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ดิ้นมากที่สุด ดังนั้น จะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นนั่นเองค่ะ 

พอผ่านสัปดาห์ที่ 32-34 ไปแล้วอาการท้องแข็งของคุณแม่🤰อาจลดลง บางรายเลยกำหนดคลอดแล้วก็ไม่มีอาการเจ็บท้องคลอดเลยก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรสังเกตุตัวเองว่ามีอาการแท้งแข็งบ่อยขึ้นหรือมีอาการท้องแข็งจนหายใจไม่ออกหรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการคลอดก่อนกำหนดได้ ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์👩‍⚕️ทันทีนะคะ 

ท้องแข็งตามธรรมชาติ (Braxton Hicks Contraction)

อาการนี้เป็นการที่มดลูกบีบตัวตามธรรมชาติของการตั้งครรภ์ หากมีอาการบีบตัวของมดลูกและมีอาการท้องแข็งเพียงเล็กน้อยจะถือว่าไม่มีอันตรายอะไรค่ะ 


ท้องแข็งจากสาเหตุอื่นๆ

ท้องแข็งจากการโก่งตัวของลูกในท้อง

เป็นอาการท้องแข็งที่คุณแม่พบเจอกันได้บ่อย เกิดจากการที่ลูกน้อย👶โก่งตัว ดิ้น และโก่งตัวของอวัยวะของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น เข่า ก้น ศอก ไหล่ หัว ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง โดยอาการเหล่านี้ถือว่าปกติและไม่เป็นอันตรายค่ะ

ท้องแข็งจากการกินที่อิ่มมาก

เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากทานข้าวเสร็จโดยคุณแม่จะมีอาการอึดอัดและแน่นท้อง สามารถบรรเทาอาการท้องแข็งได้การยืดเหยียดตัวและขาให้สบาย นั่งพักและผ่อนคลายแล้วอาการจะดีขึ้นตามลำดับ วิธีแก้คือ ให้คุณแม่พยายามทานอาหารที่ย่อยง่าย จะทำให้อาการแน่นท้องน้อยลงและระบบขับถ่ายดีขึ้นค่ะ😌

สาเหตุอื่นๆ 

ยังมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่จะทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้🤰 อาจมาจากสุขภาพร่างกายของคุณแม่ดั่งเดิมที่ไม่แข็งแรง หรืออาจมีมดลูกที่ไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัวอย่าง ความดันสูง เบาหวาน เป็นต้น 


การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง 

คุณแม่ควรรับประทานอาหารปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ🍲โดยต้องไม่รู้สึกอิ่มมากจนเกินไป และไม่ควรกลั้นปัสสาวะแม้ว่าคุณแม่จะปวดปัสสาวะบ่อยในช่วงตั้งครรภ์ก็ตาม

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์🤰 คุณแม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์และหากพบว่ามีอาการท้องแข็งบ่อยขึ้น หรือมากขึ้นควรไปพบแพทย์โดยด่วนและไม่ควรทิ้งไว้

ตอนนี้เราได้เรียนรู้และเข้าใจอาการท้องแข็งกันไปแล้ว จากนี้ไปคุณแม่ควรสังเกตตัวเองและดูแลตัวเองอย่างระมัดระวังและพบแพทย์👩‍⚕️อย่างทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยนะคะ