post-title

เริ่มอ่านตั้งแต่วันนี้ ไปกัน!

หลายๆคนอาจเคยได้ยินมาว่าการอ่านหนังสือกับลูกจะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก รวมถึงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่างๆให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี 


หนังสือนิทาน

💡ฮีโร่ของครอบครัว

หนังสือนิทาน📖 จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้พ่อแม่ลูกใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อย👶ในหลายๆ ด้าน รวมถึงสามารถหาซื้อได้ง่ายและเด็กสามารถหยิบจับได้สะดวก หนังสือนิทานจะสร้างความอบอุ่นภายในบ้าน และยังเป็นการเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยเรียนรู้ต่อยอดในอนาคตอีกด้วย💯

💡เสริมสร้างพัฒนาการ

คุณพ่อคุณแม่สามารถสื่อสารบอกเล่าเรื่องราว ทัศนคติจากหนังสือนิทาน และสนับสนุนให้ลูกน้อยตอบโต้เช่นการแสดงสีหน้า หรือ การออกเสียงพูดโต้ตอบ อ้อแอ้ การให้ลูกน้อยดูหนังสือนิทาน📖ยังเป็นการให้ลูกน้อยได้ใช้การสื่อสารผ่านภาพไปด้วย 


ตอนนี้ดีที่สุด

💡ควรอ่านให้ลูกฟังเมื่อไหร่

คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนอาจสงสัยว่าเราควรจะเริ่มอ่านหนังสือ📖ให้ลูกฟังตั้งแต่เมื่อไหร่ คำตอบก็คือควรเริ่มอ่านให้ฟังเร็วที่สุดคือตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เลยค่ะ แม้ว่าทารกในครรภ์🤰อาจยังไม่เข้าใจเนื้อหา แต่การฟังเสียงของคุณพ่อคุณแม่ขณะที่อ่านให้ฟังจะเป็นการฝึกให้ลูกน้อยแยกแยะระดับเสียงที่แตกต่างกันได้💯

💡วัย 4-6 เดือน

หากลูกน้อยมีอายุอยู่ในช่วง 4-6 เดือน ตาของลูกน้อย👶จะเริ่มมองเห็นได้ชัดจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณพ่อคุณแม่จะหาหนังสือที่เน้นภาพมาให้ดู อาจเป็นหนังสือ📖ที่แนะนำชื่อของสัตว์หรือสิ่งของต่างๆ ค่อยๆลองชี้และพลิกดูทีละภาพและอ่านออกเสียงให้ฟังนะคะ


วิธีการอ่าน

💡ตั้งใจอ่านอย่างอบอุ่น

คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อย👶มานั่งตัก จัดให้อยู่ในท่าที่สบายๆ อาจอ่านให้ลูกน้อยฟังในช่วงกลางวัน หรือในช่วงเวลากลางคืนก่อนนอนก็ได้ค่ะ แล้วแต่ความสะดวกของคุณพ่อคุณแม่ ขณะที่อ่านสามารถเติมความสนุนสนานด้วยน้ำเสียงโทนขึ้นลงตามเนื้อหาของหนังสือ📖 และคอยชี้นิ้วไปตามรูปภาพ หรือตัวอักษร

💡สร้างกิจกรรมหลังการอ่าน

คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกน้อยไปเที่ยวสวนสัตว์ หลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆนาๆ ก็จะเป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้ได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียวค่ะ💯


แบบนี้ถือว่าลูกมีปัญหาในการอ่าน

เมื่อลูกอายุมากขึ้นเราจะสามารถสังเกตลูกในแต่ละช่วงวัยได้อย่างไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ (ขอบคุณข้อมูลจาก Parentsone)

✨3-4 ขวบ ลูกไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของตัวอักษรได้รวมถึงจำตัวอักษรได้น้อยกว่า 10 ตัว รวมถึงไม่กล้าออกเสียพูดน้อยไม่อยากพูด

✨4-5 ขวบ ลูกไม่สามารถจำเสียงของแต่ละคนได้ และแยกแยะเสียงต่ำส฿งไม่ได้ รวมถึงใช้เวลานานกว่าจะจดจำตัวอักษรได้ทั้งหมด รวมถึงไม่สามารถสร้างประโยคอย่างสมบูรณ์ได้

✨6 – 7 ขวบ ลูกไม่สามารถบอกได้ว่าตัวไหนอ่านคำผิดหรือถูกและไม่เข้าใจความหมายของคำที่อ่านออกเสียง

✨7 – 8 ขวบ ลูกจะไม่สามารถออกเสียงให้ถูกต้องได้ทั้งประโยครวมถึงหลีกเลี่ยงการออกเสียงออกมาดังๆ เพราะรู้สึกอายหากตัวเองอ่านออกเสียงผิด

✨8 – 9 ขวบ ลูกมักจะสะกดคำที่เคยเรียนก่อนหน้านี้แล้วผิดบ่อยๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความที่ยาวมากๆ เช่น นิทาน เรียงความเป็นต้น