post-title

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยอาเจียน?

มีสาเหตุหลายอย่างที่อาจทำให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่อาเจียนได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ท้องเสีย ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ และอื่นๆ หากลูกน้อยไม่ได้มีอาการอาเจียนรุนแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ตามนี้ค่ะ


สาเหตุที่ลูกอาเจียน

สาเหตุที่ลูกอาเจียนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้

อาการไออย่างรุนแรง

เด็กบางคนอาจมีการไออย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง😞 โดยส่วนมากจะพบได้ในเด็กที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจเป็นอีกสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้ลูกอาเจียนนั่นเองค่ะ

แพ้อาหาร

บางครั้งลูกอาจจะแพ้อาหารที่รับประทานเข้าไป ทำให้อาเจียนออกมาค่ะ🤢

ไวรัสลงกระเพาะ

ไวรัสลงกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในส่วนกระเพาะอาหาร โดยหลังติดเชื้อไวรัส 12-24 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่จะพบว่าลูกจะมีการอาเจียน และท้องเสีย🤮

การติดเชื้ออื่น ๆ

หากลูกอาเจียนบ่อยๆ อาจเกิดจากการที่ร่างกายของลูกกำลังมีภาวะติดเชื้อนั่นเองค่ะ โดยโรคที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ โรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ🧠 การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง


บรรเทาอาการได้อย่างไร

✨ทานข้าวต้ม

ร่างกายของลูกจะเริ่มต้องการสารอาหารหลังการอาเจียน🤮ระยะหนึ่ง ลองให้อาหารประเภท ข้าวต้ม ซุป หรืออาหารเหลวอื่นๆได้ค่ะ

✨ไม่ควรให้ขาดน้ำ

คุณแม่ควรคอยสังเกตว่าลูกมีอาการขาดน้ำ🌊หลังจากอาเจียนหรือไม่ หรือหากมีอาการปากแห้ง เหนื่อย ตัวเย็น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือมีสีเข้มแสดงว่าร่างกายของเด็กขาดน้ำค่ะ

✨ดื่มเกลือแร่

อาจให้ลูกดื่มน้ำผสมโซดา หรือน้ำอัดลม และจะดีกว่าหากให้ลูกน้อยดื่มน้ำเกลือแร่เมื่ออาเจียน🤮

✨กดจุด 

เทคนิคการกดจุดมีความคล้ายคลึงกับการฝังเข็ม อาจลองกดจุดให้ลูกน้อยที่กลางข้อมือ✋ของลูกบริเวณเส้นเอ็นสองเส้น โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้

✨อาจไม่จำเป็นต้องให้ยา

หากไม่ได้การอาเจียนอย่างรุนแรง ก็อาจไม่จำเป็นต้องให้ยาก็ได้ค่ะ เพราะถ้าลูกมีอาการรุนแรงอาจไม่ช่วยให้ลูกดีขึ้นได้ เมื่ออาเจียนติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง ควรให้ลูกได้ดื่มน้ำเยอะๆ🌊 และพาไปโรงพยาบาล🏥จะดีที่สุดค่ะ


พาลูกไปหาหมอตอนไหนดี

✨อาเจียนบ่อยครั้ง

ควรพาลูกน้อยไปโรงพยาบาล🏥หากมีการอาเจียนมากกว่า 1 ครั้ง หรือ อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 8 ชั่วโมง

✨มีอาการเหล่านี้

หากลูกน้อยมีอาการเซื่องซึม ง่วง มีผื่นขึ้น อ้วกเป็นเลือด มีท่าทีมึนงง คอแข็ง มีไข้สูง ปวดหัว มีอาการขาดน้ำ🌊 หรือ กินสารเคมีที่มีพิษเข้าไปก็ควรพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์ทันทีค่ะ