post-title

ลูกน้อยเหงื่อไหลมาก อันตรายไหม?

คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าบางครั้งลูกน้อยมีเหงื่อออกตอนนอนด้วย นั่นเป็นเพราะร่างกายของเด็กจะมีการเผาผลาญพลังงานเพื่อพัฒนาวัยวะต่างๆของร่างกาย จึงเป็นสาเหตุให้มีอาการเหงื่อออกนั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้น้องเหงื่อออก จะมีอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันค่ะ 


สาเหตุของการเหงื่อออก

✨ภาวะหลั่งเหงื่อมาก

อาจเกิดจากภาวะเหงื่อท่วม หรือ ภาวะหลั่งเหงื่อมาก💦 เป็นภาวะที่ลูกน้อยจะมีเหงื่ออกเยอะมากตามรักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทั้งๆที่เปิดแอร์ ซึ่งภาวะนี้ไม่ได้มีอันตรายใดๆนะคะ

✨ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ลูกน้อยอาจมีเหงื่อออกตอนน้อยจากสาเหตุภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ โดยลูกน้อย👶จะมีอาการหายใจดัง (คล้ายเสียงกรน) สีของผิวหนังออกสีฟ้าๆ ซึ่งเกิดจากการผิดปกติของอวัยวะในช่องทางเดินลมหายใจ ควรพาน้องไปพบแพทย์👩‍⚕️เพื่อตรวจดูเพิ่มเติมค่ะ


สาเหตุอื่นๆ

✨ภาวะไหลตาย (SIDS)

ลูกอาจมีเหงื่อ💦ออกจากสาเหตุภาวะไหลตาย หรือ SIDS ที่เกิดในทารก โดยอาการนี้ทารกจะหายใจไม่ออก และมีอุณภูมิร่างกายที่สูงขึ้น พอหายใจไม่ออกก็เป็นเหตุให้เสียชีวิตค่ะ

✨โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อาการเหงื่อออกมากจะพบได้ในทารก👶ที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากหัวใจที่บกพร่องจากการผิดปกติของการเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งจะมีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษในตอนกลางคืน


วิธีรับมือเมื่อลูกเหงื่อออกตอนนอน

✨จัดให้ห้องมีอุณภูมิที่เหมาะสม

พยายามให้ห้องมีอุณภูมิอยู่ที่ประมาณ 25-27 องศา ซึ่งเป็นอุณภูมิที่เหมาะสมที่สุด โดยหากอุณภูมิห้องมีความพอดีก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่เสื้อผ้า👚ที่หนาเกินเหตุหรือห่มผ้าหลายชั้น เพราะจะทำให้ลูกไม่สบายตัวได้ค่ะ

ให้ลูกดื่มน้ำก่อนเข้านอน

หากลูกมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกดื่มน้ำ🌊ก่อนเข้านอนเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกขาดน้ำ และเพื่อชดเชยเหงื่อที่เสียไปค่ะ

✨ให้ลูกใส่เสื้อผ้าสบายๆ

คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกชุดที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี เนื้อผ้าไม่ควรระคายเคืองต่อผิวของลูกและควรโปร่งสบาย💨 เพื่อลดการอับเชื้อและลดแบคทีเรียเมื่อลูกเหงื่อออกระหว่างนอนด้วยค่ะ

โดยหากพบว่าลูกมีอาการเหงื่อออกตอนนอนร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น มีเสียงกรน นอนกระสับกระส่าย นอนกัดฟัน ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ แม้ว่าอาการเหงื่อออก💦ขณะที่ลูกน้อยนอนนั้น จะไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นอันตราย แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจไปนะคะ ควรคอยสังเกตอาการของลูกน้อย👶 และหากไม่มั่นใจลองพาไปพบคุณหมอ👩‍⚕️เพื่อตรวจอย่างละเอียด เพื่อความสบายใจว่าลูกน้อยไม่ได้เป็นโรคอันตรายใดๆค่ะ