post-title

การดูแลฟันในช่วงให้นมแม่

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่าในช่วงที่ให้นมแม่นั้น เราจะสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของคุณแม่และลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง ต้องพาไปตรวจอะไรไหม? ให้นมลูกอยู่คุณแม่จะทำฟันได้ไหม? วันนี้เรามีคำตอบไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ


สุขภาพฟันของลูกน้อย

✨นมแม่กับสุขภาพฟันของลูกน้อย

ทราบหรือไม่ค่ะว่าการให้นมแม่ ช่วยทำให้ฟันของลูกเรียงตัวได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยที่พบว่าหากให้นมแม่จนครบ 6 เดือนจะทำให้ลูกไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องฟัน🦷เมื่อเทียบกับเด็กที่ได้รับนมแม่เพียงระยะเวลาสั้นๆ 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องดัดฟันเลยในอนาคตนะคะ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างพฤติกรรมการดูดนิ้ว👈ของลูก พันธุกรรม เป็นต้น

✨ควรหยุดให้นมเมื่อฟันลูกเริ่มขึ้นไหม?

คำตอบคือ ไม่จำเป็นนะคะเราควรให้ลูก👶ทานนมแม่จนถึงอายุ 1 ปีเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่ หรืออาจให้นานกว่านั้นก็ได้ไม่มีปัญหาและสามารถหยุดได้ในเวลาที่คุณแม่ต้องการ


วิธีการให้นมกับความเสี่ยงฟันผุ

✨การเลี้ยงด้วยนมแม่เสี่ยงฟันผุน้อยกว่าดื่มจากขวดหรือไม่?

ความจริงแล้วการเลี้ยงนมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงของการฟันผุจากการดื่มจากขวดนมค่ะ เพราะทารกที่ดื่มจากขาดนมมักจะนอนหลับทั้งทีขวดนมยังคาปากซึ่งจะสามารถส่งผลต่อฟัน🦷ของลูกได้นั่นเอง

✨แล้วนมแม่สามารถทำให้ฟันผุได้ด้วยไหม?

คำตอบคือนมแม่ก็สามารถทำให้เกิดฟันผุได้ค่ะ เพราะในนมแม่ก็มีปริมาณน้ำตาลโดยธรรมชาติอยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นหากฟันของลูกเริ่มงอกก็ควรแปรงฟัน🪥ให้ลูกน้อยวันละ 2 ครั้ง


ดูแลสุขภาพฟันของคุณแม่

ให้นมลูกอยู่คุณแม่สามารถทำฟันได้ไหม?

ปัจจุบันวัสดุทางทันตกรรมเกือบทั้งหมดมีความปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมแล้ว ดังนั้นคุณแม่สามารถไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันได้ปกติ โดยจะไม่มีผลต่อน้ำนมของแม่และไม่ต้องปั๊มนมทิ้ง🥛

แม้ว่าวัสดุทางทันตกรรมเกือบทั้งหมดจะมีความปลอดภัยแต่คุณแม่ที่กำลังให้นมลูก แต่ก่อนจะทำควรตรวจสอบกับทันตแพทย์ให้ดีว่าปลอดภัยสำหรับทารกหรือไม่แล้วจึงเริ่มทำ เพราะยา💊บางอย่างอาจส่งผลต่อทารกได้ผ่านน้ำนมในภายหลังค่ะ

✨คุณแม่ควรทานอาหารที่มีประโยชน์

การที่คุณแม่ทานอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลไปยังลูกน้อยผ่านทางนมด้วย ดังนั้นคุณแม่ก็ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์และแปรงฟัน🪥ให้ครบ 2 ครั้งต่อวันด้วยค่ะ 

✨ทานน้ำให้เพียงพอ

อย่าลืมทานน้ำให้มากเพราะการขาดน้ำจะทำให้เกิดปัญหาปากแห้งและอาจเพิ่มความเสี่ยงปัญหาโรคเหงือหรือปัญหาเกี่ยวกับฟัน🦷อื่นๆด้วยค่ะ ดูแลลูกน้อยแล้ว คุณแม่ก็อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ