ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี จะสามารถพบโรคอีสุกอีใสได้ ซึ่งจะระบาดมากในช่วงหน้าหนาว โดยสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ด้วยการสัมผัส และต่อให้เคยเป็นแล้วก็อาจเป็นซ้ำได้ค่ะ
สาเหตุและอาการของโรคอีสุกอีใส
✨โรคอีสุกอีใสคืออะไร?
โรคอีสุกอีใส หรือ Chickenpox เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสVaricella-Zoster Virus(วาริเซลลาซอสเตอร์) ซึ่งหากผู้ใดไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อนก็จะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
✨สาเหตุของโรคอีสุกอีใส
ลูกน้อยจะได้รับเชื้อจากน้ำมูก น้ำลาย ละอองเสมหะเข้าไปผ่านการหายใจ หรือใช้ของร่วมกับผู้ที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสเพราะเชื้อไวรัสจะอยู่ตามของต่างๆที่ผู้ป่วยสัมผัส โดยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่ม🔴ตามตัวของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
✨อาการของโรคอีสุกอีใส
เมื่อลูกติดเชื้ออีสุกอีใส ลูกจะมีอาการเบื่ออาหารอ่อนเพลีย และมีไข้ต่ำ🤒 เมื่อผ่านไปสักพักจะเริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว และตามร่างกายเป็นตุ่มมีลักษณะนูน น้ำใส และมีอาการคัน โดยห้ามไปแกะหรือเกาเพราะอาจกลายเป็นแผลเป็นได้ หากทิ้งไว้สัก 2-3 ก็จะดีขึ้นและหายไปเองค่ะ
โดยอาการของอีสุกอีใสนั้นจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน
💉ระยะที่หนึ่ง
จะพบว่าลูกมีตุ่มขึ้ตามตัวอาจเป็นสีแดงหรือสีชมพู ซึ่งจะเกิดเป็นระยะเวลาหลายวัน
💉ระยะที่สอง
จะพบว่ามีตุ่มน้ำที่เกิดขึ้นภายในวัน และมีการแตกของตุ่มน้ำเหล่านั้น
💉ระยะที่สาม
จะพบว่าลูกมีสะเก็ดแผลที่เกิดจากการแตกของตุ่มน้ำ โดยสะเก็ดเหล่านี้อาจจะใช้เวลาหลายวันสักหน่อยกว่าจะดีขึ้น
การรักษาและป้องกันอีสุกอีใส
✨ดูแลรักษาอย่างไร
โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่ได้มีความรุนแรงมาก ดังนั้นจึงสามารถรักษาตามอาการได้โดยการกินยาลดไข้🤒 พักผ่อนให้มาก ดื่มน้ำ🌊ได้เพียงพอ โดยตุ่มที่ขึ้นมาอาจคันจนทำให้ลูกเผลอไปเกาได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถหายามาบรรเทาอาการคัน และอาจล้างแผลด้วยน้ำเกลือ และล้างมือของลูกบ่อยๆ
✨ป้องกันโรคอีสุกอีใสได้อย่างไรบ้าง
คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคอีสุกอีใสให้ลูกโดยการพาไปฉีดวัคซีนป้องกัน และพยายามให้ลูกหลีกเลี่ยงผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใส หรือหายมีการระบาดของโรค ควรสอนให้ลูกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่นเช่นที่โรงเรียน🏫
เคล็ดลับการจัดการเมื่อลูกเป็นอีสุกอีใส
เมื่อมีอาการคันให้ลูบบริเวณที่คันเบาๆ และห้ามเกาแรง ให้ทาคาลาไมน์ หรือ ประคบเย็นเพื่อลดอาการคัน และควรตัดเล็บลูกให้สั้น เพราะหากเกาโดยตุ่ม🔴ที่ขึ้นอาจทำให้แผลยิ่งลุกลามนั่นเองค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถอาบน้ำได้ลูกได้ปกติ แต่ควรอาบด้วยน้ำอุ่น และใช้สบู่ยาที่หมอจ่ายให้ค่ะ👩⚕️
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในเด็กที่มีสุขภาพดีโรคอีสุกอีใสนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่คุณหมออาจสั่งยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการ และหากเป็นเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนคุณหมอก็อาจพิจารณาให้ยา💊อื่นๆตามความเหมาะสมค่ะ
โดยอาจมีการสั่งยาต้านไวรัสเพื่อช่วยบรรเทาอาการโดยแนะนำให้ลูกทำการฉีดวัคซีน💉แม้จะเป็นหลังจากที่สัมผัสกับเชื้อไวรัสไปแล้ว (ทางที่ดีคือควรฉีดก่อนเป็นนะคะ) โดยการฉีดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและลดโอกาสการเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงด้วยค่ะ