post-title

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยติดการดูดนิ้ว

เราจะเห็นได้บ่อยๆว่าทารกจะชอบดูดนิ้วของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ การดูดนิ้วทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และความเพลิดเพลิน บางคนอาจดูดเพื่อปลอบใจตนเองหรือเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ โดยวันนี้เราจะไปดูกันว่าทำไมลูกถึงดูดนิ้ว และควรรับมืออย่างไรค่ะ


การดูดนิ้วของลูกน้อย

ทำไมลูกจึงดูดนิ้ว

เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงอายุวัย 0-1ปี ซึ่งจะอยู่ในระยะ oral stage ลูกจะมีความสุขกับการกินอิ่มและการดูด ซึ่งเป็นหนึ่งในพัฒนาของเขา ซึ่งการที่ลูกดูดนิ้วนั้นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกหิว หรือ กำลังสำรวจนิ้วมือ✋ของตัวเอง หรือลูกอาจกำลังคันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น เมื่อลูกเข้าสู่อายุ 2-4 ปี ลูกก็จะดูดนิ้วลดลง แต่หากลูกยังติดการดูดนิ้วอยู่ก็อาจจะทำให้เกิดความปกติของการสบฟัน🦷 และอาจทำให้ฟันเหยินได้ค่ะ

✨ผลเสียของการดูดนิ้ว

โดยส่วนใหญ่เมื่ออายุได้ 2-4 ขวบ เด็กจะเลิกดูดนิ้วโป้งไปเอง แต่สำหรับบางคนที่ไม่สามารถเลิกดูดนิ้วได้อาจส่งผลให้ฟันหน้ายื่น หรืออาจทำให้ฟัน🦷บนสบไม่เท่าฟันล่าง และส่งผลให้กัดอาหารได้ไม่ดีในที่สุด

✨ให้ดูดจุกนมปลอมดีกว่าหรือไม่?

แม้ว่าการให้ดูดจุกนมปลอมจะเลิกได้ง่ายกว่าการดูดนิ้ว👈 แต่ก็มีผลเสียไม่น้อยไปกว่าการดูดนิ้วเลยค่ะ


ควรทำอย่างไรเมื่อลูกดูดนิ้ว?

✨ปรับเปลี่ยนนิสัย

แม้ว่าการดูดนิ้วจะไม่ได้เป็นอันตรายถึงขั้นคอขาดบาดตาย แต่การปรับนิสัยความเคยชินตั้งแต่เด็กได้ก็จะง่ายกว่าการพยายามเปลี่ยนตอนโต โดยอาจหาของเล่นที่ลูกชอบมาหลอกล่อเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจแทนการดูดนิ้ว👈

✨ชักชวนให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น

หากลูกน้อยโตพอสมควรแล้วทันตแพทย์👩‍⚕️ อาจตรวจและอธิบายถึงผลเสียของการดูดนิ้วให้ลูกฟัง และชักชวนให้ทำกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนุกกว่าการดูดนิ้วได้ค่ะ


ถ้าเด็กดูดนิ้วควรทำอย่างไรดี

✨พบทันตแพทย์เป็นประจำ 

คุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกน้อยพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจดูว่าลูกน้อย👶มีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของขากรรไกรหรือการสบฟันด้วยหรือเปล่า และหากลูกน้อยยังไม่หยุดดูดนิ้วแม้จะอายุ 3 ขวบแล้วก็ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

✨เลิกไม่ได้ทำอย่างไร?

หากลูกมีความประสงค์จะเลิกดูดนิ้ว แต่ก็ยังเลิกไม่ได้สักที คุณพ่อคุณแม่อาจปรึกษากับทันตแพทย์👩‍⚕️เพื่อหาวิธีการอื่นๆ ที่ช่วยให้เลิกดูดนิ้วได้ 

เมื่อลูกอายุ 1 ขวบการดูดนิ้วจะถือว่าปกติและเมื่ออายุ 2-4 ขวบก็จะเลิกดูดไปเอง ในกรณีนี้ลูกหากลูกมีความผิดปกติเช่น ฟันหน้าเริ่มยื่น🦷ความผิดปกตินี้ก็จะอยู่เพียงชั่วคราว

เมื่อลูกอายุเกิด 4 ขวบแต่ยังคงดูดนิ้วมือ ก็จะสามารถพบความผิดปกติของการสบฟัน และฟันหน้าบนยื่นได้ค่ะ โดยทันตแพทย์👩‍⚕️จะสามารถรักษาให้ได้เมื่อลูกอายุ 4-6 ขวบขึ้นไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรแก้ไขก่อนที่ลูกจะฟันเหยินนะคะ