post-title

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็กเป็นโรคที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย ความฉลาดและอารมณ์ของลูกน้อยและผู้ปกครองควรระวังและคอยสังเกตถึงอาการ  เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

✨สาเหตุ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก หรือที่เรียกว่า Pediatric Obstructive Sleep Apnea เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นระหว่างการนอนหลับ💤 มักมากับต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยปกติกล้ามเนื้อบริเวณคอของร่างกายจะคลายตัวขณะนอนหลับ ทำให้ช่องลำคอยวบตัว ส่งผลเดินหายใจที่แคบลง กลายเป็นกีดขวางอย่างสมบูรณ์จนเกิดภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการนอนหลับ😮‍💨 ส่งผลต่อการนอนไม่เต็มที่ระหว่างการนอนหลับ และส่งผลให้มีพัฒนาการทางร่างกาย ความฉลาดและอารมณ์ที่ผิดปกติ

✨ปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการแพ้หรือการเป็นหวัดซ้ำๆ ในเด็ก🤧

โดยจากงานวิจัยพบว่า ร้อยละ1-5ของประชากรพบการเกิดโรคนี้ รวมถึง ร้อยละ 4-12 ของเด็กอายุ 2-6ปีพบอาการนอนกรนชนิดไม่หยุดหายใจ แต่เนื่องจากว่าอาการกรนนั้นเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการนอนหยุดหายใจดังนั้นควรรีบพาลูกมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คจะดีกว่าค่ะ


อาการและการตรวจวินิจฉัย

✨อาการ

ในระหว่างวัน เด็กมักจะอ้าปากเพื่อหายใจและหอบ ซึ่งอาจมีอาการน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก🤧 รวมถึงเด็กที่อดนอนจะมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในบางคน

เด็กบางคนจะกรนบ่อยครั้งในเวลากลางคืน💤 เมื่อนอนหลับลึก เสียงก็จะดังขึ้น จะมีการหายใจลำบาก มีการดิ้นไปมา และมักจะเปลี่ยนท่านอน รวมถึงอาจมีการฉี่รดที่นอน และเมื่ออยู่ในท่าหงายอาการจะแย่ลง 

✨การตรวจวินิจฉัย

แพทย์👩‍⚕️จะซักประวัติของลูกน้อยและทำการตรวจร่างกาย หากสงสัยว่าต่อมอะดีนอยด์โต แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมโดยใช้การเอ็กซ์เรย์ หากโตพออาจมีการส่องกล้องเพื่อตรวจจมูก โดยหากลูกมีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไปอาจเตรียมเพิ่มเติมด้วยการตรวจการนอนหลับ (sleep test) 


การรักษาและการป้องกัน

✨การรักษา

การรักษาแบบมาตรฐานและได้ผลดีมากที่สุด คือการผ่าตัดทอนซิลและอะดีนอยด์ เพื่อให้ทางเดินหายใจ😮‍💨กว้างขึ้น กำจัดแหล่งสะสมของเชื้อโรคในจมูกการผ่าตัดนี้มีความปลอดภัยและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนน้อย 

ในกรณีที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือไม่มีต่อมอดีนอยด์หรือทอนซิลโต หรือเด็กที่อ้วนมาก อาจใช้เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ💤

ในกรณีที่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจขอเฝ้าติดตามอาการ และประเมินการนอนหลับทุกๆ 6 เดือน หรือหากมีอาการรุนแรงขึ้นอาจทำการประเมินถี่ขึ้น

การดูแลสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญโดยลูกไม่ควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะ😶‍🌫️ ควันบุหรี่ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ 

✨การป้องกัน

หากลูกน้อยเป็นโรคภูมิแพ้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอ👩‍⚕️เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง และควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำและรอจนลูกน้อยมีอายุ 8 ขวบขึ้นไปเพื่อป้องกันการเป็นหวัดเรื้อรังให้ลูกมีภูมิต้านทานก่อนนะคะ