ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายๆคนให้ลูกเล่นเกมมือถือตั้งแต่ยังเล็ก โดยเกมแต่ละอย่างนั้นอาจมีความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับอายุของเด็กแต่ละวัย และอาจต้องได้คำแนะนำจากคุณพ่อคุณแม่ เราจะมีวิธีรับมือกับการเล่นเกมมือถือได้อย่างไรบ้างเราไปดูกันค่ะ
เกมมือถือมีข้อดีไหม?
ช่วยเสริมพัฒนาการอ่าน
จากงานวิจัยพบว่าเด็ก👶ที่เล่นเกมมือถืออาจได้รับทักษะการอ่านเพิ่มขึ้นผ่านการเล่นเกม🎮 ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มทักษะการอ่านในเด็กที่มีทักษะการอ่านที่ดีอยู่แล้ว มีส่วนช่วยเด็กที่มีทักษะการอ่านไม่ดีด้วย เพราะบางเกมจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องราว เพื่อผ่านด่านต่อไปนั่นเองค่ะ
เสริมสร้างจิตนาการและการแก้ไขปัญหา
ลูกจะสามารถฝึกการแก้ไขปัญหา เพราะในแต่ละเกมก็จะมีความท้าท้ายเพื่อที่จะผ่านด่านได้ต่างกันออกไป อาจเป็นการเกมแก้ไขปริศษา การสร้างเมือง🏰 ลูกจะเรียนรู้การคิดเป็นขั้นตอน และคิดวางแผนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้ลูกรู้จักการจิตนาการ เพราะเกมต่างๆเดี๋ยวนี้นอกจากจะมาในรูปแบบ 2Dแล้วยังมาในแบบ 3D อีกด้วย ซึ่งทำให้ลูกสามารถมองในมุมที่กว้างในการหาทางแก้ปัญหาได้
การเข้าสังคม👪
ลูกจะมีโอกาสได้เจอเพื่อนมากมายในโลกออนไลน์📱ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ โดยจะได้พบกับคนที่มีความชอบเหมือนกัน ทำให้ลูกได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรระวังการโดนหลอกหลวงเอาเงินหรือหลอกให้มาเจอข้างนอกและถูกลักพาตัวได้
เกมมือถือมีข้อเสียอะไรบ้าง?
ส่งผลต่อสุขภาพ
หากลูกเสียเวลาไปกับการจ้องหน้าจอมือถือ📱ทั้งวัน แทนการทำกิจกรรมอื่นๆ นั่นอาจมีผลต่อการเสริมสร้างพัฒนาการตามวัยของพวกเขาได้ การที่ลูกไปออกไปพบปะผู้คนและเอาแต่นั่งหรือนอนเล่นมือถือก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ เพราะขาดการออกกำลังกายขยับร่างกาย รวมถึงจะทำให้ข้อต่อและกล้ามเนื้ออ่อนแอลง สายตาเสีย และอาจมีอาการนิ้วมือชาได้
ไม่ตั้งใจเรียน📖
ในวัยที่ลูกต้องไปโรงเรียน🏫และต้องรับผิดชอบการมาที่ได้มาให้เสร็จสิ้น แต่ลูกมัวแต่สนใจที่จะเล่นเกมและไม่สนใจทบทวนหรือทำการบ้านก็จะส่งผลให้ความตั้งใจเรียนและประสิทธิภาพการเรียนต่ำไปด้วย
เลียนแบบสิ่งที่ไม่เหมาะสม
บางเกม🎮มีเนื้อหาที่รุนแรง หรือมีเรื่องเพศเข้ามา ซึ่งยังไม่เหมาะที่จะให้ลูกเรียนรู้ ทั้งยังมีคำหยาบต่างๆนาๆ ซึ่งอาจทำให้ลูกเก็บมาเลียนแบบได้ เพราะลูกยังไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ
รวมถึงลูกอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวจากการอยากเอาชนะในเกม อาจทำให้ลูกก้าวร้าว หรือ หงุดหงิดง่ายเมื่อไม่ได้เป็นไปอย่างที่เขาต้องการ
ตัดขาดจากสังคม
เกมอาจทำให้ลูกตัดขาดจากสังคมได้ เมื่อลูกเล่นเกมเป็นเวลานานก็จะมีเวลาพูดคุยกับคนในครอบครัว👪และเพื่อนในชีวิตจริงน้อยลง รวมถึงไม่อยากทำกิจกรรมที่ต้องร่วมกับคนอื่น อาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการล่าช้า ซึมเศร้า และเครียดได้
วิธีรับมือ
ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดเกม
พยายามอย่าให้มือถือลูกเล่นตั้งแต่เล็ก เมื่อให้ลูกเล่นเกมก็ควรตรวจสอบเนื้อหาของเกม🎮ว่าเหมาะกับอายุของลูกหรือไม่ โดยอาจลองเล่นเกมนั้นก่อนเพื่อเป็นการคัดเอาเกมที่ไม่เหมาะสมออกไป
ให้กำหนดระยะเวลาที่ลูกสามารถเล่นเกมได้ในแต่ละวัน รวมถึงกำหนดสถานที่ที่สามารถเล่นได้ โดยผู้ปกครองควรเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการถูกหลอกเอาเงิน หรือลักพาตัวได้ โดยให้ลูกสามารถเล่นเกมได้หลังปฎิบัติหน้าที่ของตัวเองลุล่วงแล้ว เช่น การทำการบ้าน📖 การอ่านหนังสือ
ในเวลากลางคืนให้เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ📱ออกจากห้องนอนเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแอบมาเล่น และควรให้ลูกได้มีเวลาทำกิจกรรมในระหว่างวัน เช่นการเจอเพื่อน การร่วมกิจกรรม เช่น กีฬาหรือดนตรีต่างๆ