post-title

ปานทารก อันตรายไหมนะ?

คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านอาจจะเคยสังเกตุว่าลูกมีปานดำหรือปานแดงต่างๆตามตัวลูกน้อย👶 ซึ่งผู้ปกครองหลายๆท่านก็อาจกำลังกังวลว่าปานเหล่านี้จะอยู่กับลูกไปทั้งชีวิตและทำให้ลูกเสียความมั่นใจ ซึ่งบางครั้งปานเหล่านี้อาจจะขยายลามไปอีก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับปานเหล่านี้กันค่ะ


ปานแดงและปานดำ

ปานดำ⚫ 

ปานดำ หรือ Pigmented Birthmarks มีทั้งแบบนูนและแบบเรียบ ซึ่งเกิดจากการที่ชั้นผิวมีเม็ดสีเมลานินมากเกินไป จึงทำให้เกิดเป็นจุดสีบนผิว โดยมักจะปรากฏให้เห็นตั้งแต่แรกเกิด👶มีตั้งแต่สีดำ น้ำตาล เทา น้ำเงิน

ปานแดง🔴 

ปานแดง หรือ Vascular Birthmarks เป็นลักษณะปานที่เกิดจากหลอดเลือดที่ผิวปกติ ซึ่งจะพบได้ในทารกแรกเกิดหรือหลังจากที่ทารกคลอดออกมาได้ไม่นาน ปานแดงนี้มักจะมีสีชมพู แดง หรือ ม่วงค่ะ 

รักษาได้ไหม?

จริงๆแล้วปานส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เองเมื่อทารก👶โตขึ้นและไม่ใช่เรื่องอันตรายค่ะ โดยจะมีปานเพียงบางชนิดเท่านั้นที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปานเหล่านั้นจะขยายขนาดขึ้น และจะอยู่อย่างถาวร ซึ่งหากพบว่าลูกมีปานเช่นนี้ก็ควรจะพาไปปรึกษากับแพทย์👨‍⚕️เพื่อหาทางรักษาต่อไป เช่น อาจจะใช้แสงเลเซอร์ หรือจี้ด้วยไฟฟ้าค่ะ 


ประเภทของปานแดง

ปานสตรอว์เบอร์รี่

ปานสตรอว์เบอร์รี่🍓 หรือ Strawberry Hemangioma มีลักษณะเป็นจุดสีแดงเล็ก มีความนูนนุ่ม และสามารถบีบได้ ปานนี้มักจะขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง หรือหนังศีรษะ โดยจะเกิดในทารกแรก👶เกิดช่วงอายุ 1-2 เดือน โดยใน 6 เดือนแรก ปานจะค่อยๆขยายขนาดขึ้นและจะเล็กลงไปและหายไปในที่สุดช่วงอายุ 7 ขวบ  

ปานเส้นเลือดแดง

ปานเส้นเลือดแดง (Stork Bites) หรือ แซลมอน แพตช์ (Salmon Patch) นั้นจะมีลักษณะเรียบเป็นสีชมพู หรือสีแดง  โดยเป็นปานที่พบมากที่สุด 1/3 ของทารก👶 และจะสามารถหายไปเองภายในไม่กี่เดือน ส่วนมากจะพบบริเวณ หน้าผากระหว่างคิ้ว หรือ เปลือกตา👀ซึ่งจะหายได้ภายใน 4 ปี และบริเวณท้ายทอย อันนี้มักจะไม่หาย 

ปานแดงเส้นเลือดฝอย

ปานแดงเส้นเลือดฝอย หรือ Port-Wine Stain เป็นปานแดงที่มักจะเกิดเมื่อตอนแรกคลอดและจะอยู่อย่างถาวร โดยในตอนแรกปานจะมีสีแดง🔴หรือสีชมพู และจะค่อยๆมีสีคล้ำขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ปานนี้จะมีลักษณะที่ค่อนข้างใหญ่ โดยจะเกิดที่คอ หรือ บริเวณใดบริเวณหนึ่งของใบหน้า👶 


ประเภทของปานดำ

ปานดำแต่กำเนิด

ปานดำแต่กำเนิด หรือ Congenital Melanocytic Naevi มีสีน้ำตาล🟤 ดำ⚫ และฟ้า🔵  โดยจะมีลักษณะราบหรือนูน และอาจขรุขระเมื่อโตขึ้น อาจพบขนงอกยาวหรือดกบริเวณปาน ปานนี้พบได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึง 2-3 เดือน👶 โดยหากมีขนาดที่ใหญ่เกินไปอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ค่ะ

ปานสีกาแฟใส่นม

ปานสีกาแฟใส่นม หรือ Café-Au-Lait Spots เป็นปานที่มีลักษณะเป็นรอยปื้นสีน้ำตาล🟤  เป็นปานถาวร รูปร่างทรงรีมีขอบเขตชัดเจน เมื่อแรกเกิดหรืออายุนั้นปานนี้จะมีขนาดเล็กและจะขยายใหญ่เมื่อเติบโตขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมีเพียง 1-2 จุดเท่านั้น 

ปานมองโกเลียน

ปานมองโกเลียน (Mongolian Spots) มีลักษณะคล้ายรอยช้ำ สีน้ำเงิน🔵หรือสีเทา พบได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่บริเวณสะโพกหรือก้น ซึ่งเมื่ออายุประมาณ 4 ขวบ👶 ปานนี้จะค่อยๆจางหายไปเองค่ะ