คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านอาจจะกำลังสงสัยว่าเราจะสามารถสังเกตได้ยังไงว่าลูกน้อยของเรามีการมองเห็นที่เป็นปกติหรือเปล่าและจะต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาไปดูกันค่ะ
วิธีสังเกตลูกน้อยสายตาสั้น
จะสังเกตว่าลูกน้อยมีสายตาสั้นได้อย่างไร?
อาการสายตาสั้น👓นั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กโตแล้ว และจะมีเด็กสายตาสั้นแต่กำเนิดไม่มากนัก หากทารกมีอาการสายตาสั้น👀แต่กำเนิด เมื่ออุ้มมาจะสังเกตได้ว่าน้อยจะไม่สบตา ไม่มองหน้าเมื่ออายุ 4-6เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกจะต้องมองหน้า หรือ สบตากับคุณพ่อคุณแม่แล้ว
อาการอื่นๆที่สังเกตได้
✨ขยี้ตาบ่อยๆ
✨ปวดหัวเป็นประจำ
✨เวลาโยนรับ-ส่งลูกบอลมักพลาดบ่อยๆ⚽
✨ไม่สามารถดูภาพยนตร์สามมิติได้
✨เวลาอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์📺มักเพ่งหรือหยีตา
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ควรจะพาพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอกหรือต้อหินในตาหรือไม่ค่ะ
วิธีป้องกันลูกสายตาสั้น
เราจะเห็นได้ว่าในเด็กบางคนเพิ่งอายุไม่ถึง 7 ขวบก็สวมแว่น👓แล้ว ซึ่งเหล่านี้อาจไม่ได้มาจากพันธุกรรมอย่างเดียวแต่มาจากสภาพแวดล้อมด้วยเช่น จ้องจอเกม หรือเล่นเกมใน IPad ที่มีสีและแสงสว่างแสบตา👀เกินไป จ้องจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ตลอดวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสายตาของเด็กๆได้ ทำให้เด็กสมัยนี้มีปัญหาทางด้านสายตาก่อนวัยอันควรค่ะ
ควรจะพาลูกไปตรวจวัดสายตาเมื่อไหร่? เตรียมตัวอย่างไร?
อายุเท่าไหร่จึงควรพาไปตรวจวัดสายตา?
จริงๆแล้วไม่ได้มีกำหนดอายุที่ต้องพาไม่ตรวจที่แน่นอนเพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะตรวจวัดสายตามอายุเหมือนที่ต่างประเทศ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสังเกตการมองเห็น👓ของลูกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ว่าลูกสบตา👀ไหม มองวัตถุสีเด่นๆไหม และเมื่อลูกอายุ3-4 ขวบขึ้นไปซึ่งเป็นช่วงที่โตพ่อที่จะสื่อสารได้ก็สามารถพาไปวัดสายตาได้ค่ะ
วิธีเตรียมตัวการตรวจวัดสายตาในเด็กเล็ก
✨น้องไม่ควรมีไข้🌡️ และมีร่างกายปกติ
✨ไม่ควรมีการสอบในวันรุ่งขึ้นเพราะอาจต้องใช้ยาที่จะทำให้มองไม่ชัด 1 วัน
✨เตรียมหมวกและแว่นดำ😎 เพราะม่านตาจะขยายหลังตรวจ และอาจแพ้แสงได้ 1 วัน
✨หลังตรวจไม่ควรโดนไฟแสงสว่างๆ
✨ควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง☀️ และ พักผ่อนในบ้านค่ะ