post-title

ลูกยังเดินเซ เดินล้มเพราะอะไร?

เมื่อลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เข้าสู่วัยเตาะแตะ ในช่วงแรกของการฝึกเดิน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพบว่าลูกยังหาสมดุลไม่ได้และเดินเซ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปลูกจะค่อยๆพัฒนาและสามารถเดินได้มากขึ้น ซึ่งสำหรับเด็กบางคนไม่เป็นเช่นนั้น แม้ว่าจะฝึกแล้วและอายุก็มากขึ้นแล้วก็ยังทรงตัวไม่ได้อยู่ ซึ่งเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไรและเราจะสามารถแก้ไขได้อย่างไรเราไปดูกันเลยค่ะ 


พัฒนาการการเดินของเด็กปกติ

เด็ก👶ที่เริ่มฝึกเดินจะมีการเดินไม่ยังไม่มั่นคง แขนและมือจะกางออกเพื่อพยายามทรงตัว และจะมีลักษณะขาที่โค้ง นอกจากนั้นการก้าวแต่ละก้าวยังมีความเร็วที่ยังไม่สม่ำเสมอ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเดินเซและหกล้มนั่นเองค่ะ เราไปดูพัฒนาการการเดินที่ปกติของเด็กกันค่ะ

✨เมื่ออายุ 6-8 เดือน จะสามารถนั่งได้โดยไม่ต้องพยุง

✨เมื่ออายุ 9-11 เดือน จะสามารถใช้มือและเข่าคลาน

✨เมื่ออายุ 11-12 เดือน จะสามารถเริ่มตั้งไข่

✨เมื่ออายุ 12-14 เดือน จะสามารถเดินได้อย่างอิสระ 

✨เมื่ออายุ 15 เดือน จะสามารถใช้มือและเข่าขึ้นบันได 

✨เมื่ออายุ 16 เดือน จะสามารถวิ่งเล่นได้แต่ยังควบคุมได้ไม่ดีนัก

✨เมื่ออายุ 20-24 เดือน จะสามารถขั้นลงบันไดทีละขั้น 

✨เมื่ออายุ 3 ขวบ จะสามารถขึ้นลงบันไดแบบสลับเท้า

✨เมื่ออายุ 4 ขวบ จะสามารถกระโดด และ กระโดดขาเดียว

✨เมื่ออายุ 5 ขวบ จะสามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง

✨เมื่ออายุ 6-7 ขวบ จะสามารถยืนกระต่ายขาเดียวได้


สาเหตุที่ลูกทรงตัวไม่ได้ เดินเซเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่ทำให้ลูกเดินเซ

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกทรงตัวไม่อยู่และเดินเซ🚶คือผลจากที่ขาแข็งแรงลดลง หรือ เกิดจากความยาวของขาที่คลาดเคลื่อน หรือ เกิดจากระยะการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นหรือลดลง หรือ เกิดจากการปัญหาการรับรู้ความสมดุล😐 ความเจ็บปวด หรือ การรู้สึก ซึ่งเหล่านี้สามารถปรับตัวและรักษาให้ได้ แต่จะต้องทำการวินิจจัยและทำการรักษาโดยแพทย์ 

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ลูกเดินเซ

อีกสาเหตุที่ทำให้ลูกเดินเซคือ ลูกมีปัญหาภายในร่างกาย เช่น ระบบการทำงานของสมอง🧠มีปัญหา หรืออาจมีปัจจัยจากเหตุการณ์หรือสิ่งรอบข้างที่ทำให้ลูกเดินผิดปกติ


อาการเมื่อลูกเดินเซ เดินสะดุดล้ม

✨มีท่านั่งหรือท่าลุกที่ผิดท่า

✨มีการบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป

✨ภาวะกระดูกหักจากความเครียด (พบมากในเด็กที่มีพลังเหลือล้น)

✨การบาดเจ็บที่ไม่คาดคิดจากอุบัติเหตุ

✨โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก

✨การบิดเบี้ยวของเท้าจนเห็นได้ชัดเมื่อมีอาการเมื่อยล้า

✨การเจ็บปวดแบบเรื้อรัง จะมีอาการจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน 

✨ การเจ็บปวดแบบเรื้อรังจะแย่ลงในตอนเช้า