post-title

ผลเสียของการนอนไม่หลับ และวิธีแก้ไข

จากบทความเด็กนอนหลับยากสาเหตุเกิดจากอะไร ในวันนี้เราจะมาดูผลเสียของการที่ลูกนอนหลับยาก และมาดูว่าเราจะสามารถรับมือได้อย่างไรกันบ้างค่ะ 


ผลเสียเมื่อลูกนอนหลับยาก

ส่งผลต่อการทำงานของสมอง🧠

นอกจากนั้นยังส่งผลต่อการทำงานของสมอง เมื่อลูกนอนน้อยบ่อยๆ ลูกจะไม่ค่อยมีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ คิดช้า และทำอะไรช้า โดยเด็กก่อนวัยเรียนจะต้องการเวลาการนอนถึง 11 ชั่วโมง/วัน

ส่งผลต่อพัฒนาการ

เมื่อลูกนอนหลับยาก💤หรือนอนหลับไม่สนิทบ่อยๆ จนเป็นภาวะนอนหลับยาก สิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อการพัฒนาการของลูก ทั้งพัฒนาการทางร่างกายและทางปัญญา เวลาที่นอนหลับสนิทร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โมนทำให้ร่างกายพัฒนาและเพิ่มความสูง และหากนอนหลับไม่สนิทก็จะทำให้ลูกไม่สามารถตั้งใจเรียนได้เพราะง่วงนั่นเองค่ะ

เสี่ยงต่อการเป็นโรคมากขึ้น

การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ และอาจทำให้ลูกอยากอาหาร🍲มากขึ้น แต่หากลูกทานแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วน และโรคเบาหวานในเด็กได้ค่ะ

ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อเด็กนอนน้อยจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กต่ำลง เพราะระหว่างที่นอนนั้นร่างกายจะผลิตสารอินเตอร์ลิวคิน-1 (interleukin-1) ที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการนอนอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากๆค่ะ💪


วิธีการรับมือและแก้ปัญหา

ก่อนอื่นผู้ปกครองควรจะหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ลูกนอนหลับยาก เพื่อที่ว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงควรจะฝึกให้ลูกมีพฤติกรรมการนอนที่ถูกต้อง

ฝึกวินัยการนอนให้ลูก

เมื่อลูกโตขึ้นลูกจะสามารถจดจำสิ่งต่างๆที่ทำประจำก่อนนอนได้เช่น การอาบน้ำ 🚿การเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดนอน ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกให้เด็กทราบว่าใกล้ถึงเวลานอนแล้วนะ

คอยดูว่าลูกมีอาการเจ็บป่วยไหม

เมื่อลูกมีอาการเจ็บป่วย ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการนอนหลับได้ เช่น หากพบว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้ หรือ เป็นหวัด🤧 หรือมีอาการอื่นๆ ก็ควรพาลูกไปหาคุณหมอเพื่อนวินิจฉัยและรักษาเพื่อให้ลูกหลับได้อย่างสบายค่ะ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอน

ควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมก่อนนอนเช่น ไม่ควรให้ลูกดูทีวี📺ก่อนนอน ไม่เปิดเพลงเสียงดังจนเกินไป ปรับให้อุณหภูมิในห้องพอดีแก่การ

คอยถามไถ่พูดคุยกับลูก

การคอยถามไถ่💭 ชวนคุยถึงความรู้สึก หรือเรื่องกังวลใจจะทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้ เพราะบางครั้งเมื่อลูกมีเรื่องไม่สบายใจ ลูกก็จะเก็บไปคิดและทำให้นอนไม่หลับ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะสังเกต และถามบ่อยๆ และพยายามให้ลูกผ่อนคลายก่อนนอนค่ะ