post-title

คุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ควรทำอย่างไร?

ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ซึ่งจะมีอากาการคือตกขาว และมีกลิ่น สามารถพบได้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณ 10-30% โดยอาจเกิดจากความไม่สมดุลของเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด 


อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลองของหญิงตั้งครรภ์

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อนั้น🦠 ผู้ป่วยอาจมีอาการ หรือ ไม่มีอาการก็ได้ ผู้ที่มีอาการนั้นจะมีการตกขาวเป็นสีขาว หรือ เทา และจะมีกลิ่นคาวปลา 

ในการวินิจฉัย แพทย์จะตรวจตกขาวด้วยการใช้การตรวจสไลล์โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์🔬 หรือ ตรวจโดยใช้สไลล์สด 

มีผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์?

มีนักวิจัยหลายๆท่านที่พบการเชื่อมโยงของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย🦠 ในช่องคลอด อย่างทารกมีน้ำหนักน้อยเมื่อแรกเกิด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บคลอด หรือ การแท้งเป็นต้น


เหตุผลที่ควรตรวจ

ควรตรวจเมื่อมีอาการ

หากคุณแม่ที่ตั้งกำลังครรภ์กำลังมีอาการของการติดเชื้อแบคทีเรีย🦠 ในช่องคลอด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้มีการแนะนำว่าควรจะไปตรวจคัดกรองและทำการรักษา รวมถึงท่านใดที่เคยมีประวัติคลอดบุตรก่อนกำหนดมาก่อน ก็ควรจะทำการตรวจเพื่อสุขภาพของมารดา🤰และทารกในครรภ์ค่ะ 

แล้วหากไม่มีอาการควรตรวจด้วยไหม?

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีสัญญาณหรืออาการของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดก็อาจจะไม่จำเป็นต้องตรวจหาก็ได้ค่ะ แต่หากท่านใดมีความกังวลและอยากจะตรวจ ควรจะปรึกษากับคุณหมอ👨‍⚕️ก่อนนะคะ ว่าควรจะตรวจหรือไม่


วิธีการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถรักษาได้ ตามนี้ 

ทานยาการรักษาเฉพาะจุด💊

คุณหมออาจพิจารนาให้ ยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) หรือ ยาคลินดามัยซิน (clindamycin) ทานเป็นเวลา 2 ครั้ง/วัน นาน 1 อาทิตย์ 

ยาปฏิชีวนะ

แมคโดนัลด์ เอช โบรค็อกเคิลเฮอร์สท์ พี👨‍🔬 และพาร์สันส์ เจ👨‍🔬ได้ทำการศึกษาในปีพ.ศ. 2548 พบว่ายาปฏิชีวนะสามารถรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดได้ค่อนข้างดี และ ยังสามารถช่วยลดโอกาสของทารกน้ำหนักตัวน้อยเมื่อคลอด และลดโอกาสเสี่ยงถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บคลอดอีกด้วย