post-title

เป็นโรคอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม?

โรคอีสุกอีใส คือโรคติดต่อที่พบมากในเด็กแต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน รวมถึงคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ก็สามารถติดโรคอีสุกอีใสได้เช่นกัน ซึ่งเราจะมีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อติดอีสุกอีใสขณะท้อง วันนี้เราไปพบคำตอบกันเลยค่ะ


โรคอีสุกอีใสคืออะไร?

โรคอีสุกอีใสคือ...?

อีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัส🦠 Varicella-zoster virus ที่ สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส หรือการจาม โดยใช้ระยะ 2-3 อาทิตย์ในการฟักตัว หลังจากนั้นจะเกิดการแบ่งตัวของเชื้อและเข้าสู่กระแสเลือด โดยจะมีอาการคือ เป็นไข้ มีตุ่มสเกิดขึ้น มีอาการคันตามร่างกาย และมีอาการปวดเมื่อยตามตัว

พบการระบาดที่ไหนบ้าง?

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ระบาดได้ง่ายตามชุมชนที่อยู่ หรือตามสถานที่ที่รวมคน อย่างโรงเรียน🏫 ซึ่งโรคอีสุกอีใสนี้เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยมักจะติดเชื้อนี้หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน ซึ่งจะพบการติดได้ตลอดทั้งปี โดยจะพบมากที่สุดในระหว่างเดือนมกราคม- เดือนเมษายนนั่นเองค่ะ 


คุณแม่ตั้งครรภ์ติดโรคอีสุกอีใส อันตรายไหม?

หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ติดโรคอีสุกอีใส ก็จะมีอาการรุนแรงมากกว่าติดในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพราะในระหว่างที่ท้อง ภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความรุนแรงนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของคุณแม่ขณะนั้นด้วย

ติดเชื้อในระยะครรภ์อ่อน

หากคุณแม่เป็นอีสุกอีใสภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์🤰 และทารกในครรภ์มีการติดเชื้อนี้จากคุณแม่ ก็มีโอกาสที่ทารกจะเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งอาจพบความผิดปกติของแขนขามีลักษณะลีบเล็ก ความผิดปกติของผิวหนัง ตาเป็นต้อกระจก ชัด เป็นอัมพาต สมองฝ่อ ปัญญาอ่อน และอาจมีการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งภายในสองปีแรกของทารก👶ที่ติดเชื้อครึ่งหนึ่งมักจะเสียชีวิต แต่ในบางรายก็อาจโชคดีคลอดออกมาปกติ แล้วจึงแสดงอาการในขวบปีแรก โดยจะมีอาการคล้ายติดเชื้องูสวัด

ติดเชื้อในระยะใกล้คลอด

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้ออีสุกอีใสในช่วง 7 วันก่อนคลอด ไปจนถึง 7 วันหลังคลอด จะมีความอันตรายอย่างมากต่อแม่และทารกในครรภ์ เพราะจะทำให้คุณแม่เกิดอาการปอดอักเสบ🫁 ปอดบวม มีการหายใจล้มเหลว และอาจถึงขึ้นชีวิตทั้งแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าจะมียาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใสที่สามารถช่วยลงอัตราการเสียชีวิตของทารกลงได้ แต่ก็มีค่ารักษาและค่ายาที่สูงมาก💰

โดยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อขณะคลอด จึงแนะนำให้คุณแม่ที่มีผื่นขึ้น ยื้อวันคลอดออกไปก่อนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้ถูกส่งต่อจากแม่ไปยังทารกก่อน แต่จะต้องให้แพทย์👨‍⚕️เป็นคนพิจารณาความเหมาะสมว่าควรจะยื้อออกไปหรือไม่ด้วยนะคะ 


วิธีป้องกันโรคอีสุกอีใส

การป้องกันโรคอีสุกอีใส

สำหรับผู้ตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน หรือทำการตรวจเลือดแบบพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันอีสุกอีใส ก็ควรเลี่ยงที่จะสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใส โดยหากมีการสัมผัสควรไปพบคุณหมอ👨‍⚕️ทันทีค่ะ 

ซึ่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ควรจะฉีดวัคซีนอีสุกอีใส เพราะจะทำให้เป็นอันตรายได้ โดยหากจะฉีดวัคซีนควรจะทำตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์🤰 โดยทิ้งห่างอย่างน้อย 3 เดือนหลังฉีดวัคซีนครบกำหนดจึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยค่ะ 

ซึ่งหากคุณแม่ท่านใดตั้งครรภ์ไปแล้วก็ควรให้รอหลังคลอดก่อนจึงจะฉีดวัคซีน💉ได้ค่ะ ซึ่งเมื่อฉีดวัคซีนหลังคลอดก็จะสามารถให้นมได้ตามปกติเลยค่ะ 

วิธีการดูแลตนเองเมื่อติดโรคอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์

✨หากคุณแม่ติดโรคอีสุกอีใสควรจะพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 8-10ชั่วโมงต่อวัน และควรดื่มน้ำ🌊ให้มาก

✨หากมีอาการไข้สูง ให้ทานยาลดไข้ และเช็ดตัวแต่หากยังมีไข้สูงไปลดก็ควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

✨หากคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไปควรจะนับว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรไปหาคุณหมอทันทีค่ะ

✨หากต้องการทานยาแก้แพ้💊ควรจะปรึกษาคุณหมอก่อนนะคะ 

✨หากมีอาการคันมากสามารถใช้คาลาไมน์ทาบรรเทาได้

✨รวมถึงไม่ควรไปแกะ หรือ เกาตุ่มใส เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลค่ะ🙂