post-title

ปั๊มนมก่อนคลอดได้หรือไม่?

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ และก็เริ่มที่จะใกล้วันกำหนดคลอดเข้าทุกที คุณแม่หลายๆคนก็จะประสบกับปัญหาของน้ำนมที่ไหลออกมาก่อนคลอด คุณแม่หลายๆคนก็อยากจะปั๊มเก็บไว้ล่วงหน้าเพราะกลัวว่านมจะไม่พบ หรือ อยากเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้หรือไม่เราไปดูกันค่ะ 


สามารถปั๊มนมก่อนคลอดได้ไหม?

ปั๊มนมก่อนคลอดได้หรือไม่?

จริงๆ แล้วการปั๊มนม🐄ก่อนคลอดอาจมีผลทำให้ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ลูกยังพัฒนาระบบทางเดินหายใจได้ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง ซึ่งบางคนอาจมีความเชื่อว่าการปั๊มนมก่อนคลอดล่วงหน้า จะช่วยกระตุ้นให้มีน้ำนม🥛ออกมามากขึ้นในภายหลัง แต่ก็แนะนำให้คุณแม่ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุดค่ะ 

แล้วควรเริ่มปั๊มนมตอนไหนดี?

คุณแม่สามารถเริ่มปั๊มนมให้ลูกได้ หลังจากที่คลอดทันที ซึ่งในช่วงแรกน้ำนมของคุณแม่จะเป็นน้ำนมเหลือง🍼ที่เต็มไปด้วยประโยชน์มากมาย สำหรับใครที่คิดว่าน้ำนมส่วนนี้ทานไม่ได้ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ มีประโยชน์ต่อลูกน้อยแน่นอนค่ะ โดยในช่วงนี้สามารถปั๊มนมได้ข้างละ 10 ถึง 15 นาที และเมื่อผ่านไปสักสามสี่วัน คุณแม่จะเริ่มปั๊มนมให้ลูกได้เยอะขึ้น โดยคุณแม่จะรู้สึกเลยว่าคัดเต้า โดยการปั๊มนมนั้นนอกจากจะช่วยหยุดอาการตกเลือดในช่องคลอดแล้วยังช่วยเร่งให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ🤗


วิธีทำให้นมไหลได้ดีขึ้น

ลองนวดเต้านม

คุณแม่ท่านใดที่อยากให้นมไหลได้สะดวกขึ้น ก่อนคลอดให้ลองนวดเต้านม โดยการนวด💆‍♀️เป็นประจำจะช่วยกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงที่เต้านมของคุณแม่ หากคุณแม่พบว่ามีน้ำนมซึมออกมาในช่วงใกล้คลอดนั่นเป็นสัญญาณว่าต่อมน้ำนมได้เริ่มทำงานแล้วนั่นเองค่ะ 

ประโยชน์ของการนวดเต้านม

การนวดเต้านมนั้นนอกจากจะเป็นการไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมทำงานแล้ว ยังช่วยให้น้ำนม🥛ไหลสะดวกขึ้นและบรรเทาอาการปวดจากการอุดตันของท่อน้ำนมอีกด้วย


หลังคลอดปั๊มนมอย่างไร? อาการท่อน้ำนมอุดตัน?

เริ่มต้นด้วยการ...

คุณแม่จะสามารถเลือกวิธีปั๊มนมแบบใช้เครื่องไฟฟ้า หรือ เครื่องปั๊มนมแบบมือได้✋ อย่างไรก็ตามในการเริ่มต้น คุณแม่ควรจะใช้วิธีการปั๊มด้วยมือก่อน  โดยเคล็ดลับที่จะทำให้เจ็บน้อยที่สุดคือพยายามปั๊มนมให้คล้ายจังหวะที่ลูก👶ดูดนมที่สุด ระยะเวลาที่ปั๊มคือ 30-45 นาที และให้ปั๊มทั้งสองข้างค่ะ

ท่อน้ำนมอุดตัน คืออะไร?

ท่อน้ำนมอุดตันนั้นเกิดจากการอุดตันของท่อส่งน้ำนมบางส่วน จึงเป็นผลให้น้ำนมไหลได้ไม่สะดวก🥛 และมีน้ำนมคั่งอยู่ในเต้านมของคุณแม่เป็นจำนวนมาก จึงไม่แปลกหากคุณแม่จะรู้สึกว่ามีก้อนอะไรอยู่ เป็นแผ่นหนา และแข็ง ซึ่งจะไม่ได้เป็นทุกส่วนของเต้านม อาจมีอาการปวดแดง กดแล้วจะรู้สึกเจ็บ และลานหัวนมจะมีลักษณะผิดรูป อาจพบจุดสีขาวที่บริเวณหัวนม หรือ White dot และบางครั้งอาจพบอาการปูดของเส้นเลือดที่บริเวณเต้านม แต่จะไม่มีไข้ค่ะ