post-title

ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายขนาดไหน?

ธาลัสซีเมียคือโรคที่หลายๆคนเคยได้ยินและรู้จักกันมาบ้าง ซึ่งหากโรคนี้เกิดในหญิงตั้งครรภ์แล้วจะมีความอันตรายขนาดไหนวันนี้เราไปดูพร้อมๆกันค่ะ 


ทำความรู้จักกับโรคธาลัสซีเมีย

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งเป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่ง🩸 โดยร่างกายของผู้ป่วยจะไม่สามารถสร้างฮีโมโกลบินได้ตามปกติจึงทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่เปราะและแตกง่าย จนทำให้มีภาวะเลือดจางเรื้อรัง เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ โดยในบางคนนั้นจะมีเป็นเพียงยีนแฝง🧬ที่ไม่ได้แสดงอาการของโรคอยู่ในตัว แต่ก็สามารถเป็นพาหะถ่ายทอดต่อให้ลูกได้นั่นเองค่ะ 


ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงแค่ไหน?

สามารถถ่ายทอดผ่านยีน 

โรคธาลัสซีเมียนั้นสามารถถ่ายทอดผ่านทางยีนได้🧬  ดังนั้นหากคุณแม่ที่ตั้งครรถ์เป็นพาหะหรือมียีนแฝงของโรค ก็จะสามารถส่งต่อให้ลูกได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรเข้ารับการตรวจว่ามียีนแฝงของธาลัสซีเมียหรือไม่

โอกาสที่ทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อ

หากพบว่าคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะ ก็มีโอกาสที่ทารก👶ในครรภ์จะได้ยีนแฝงนี้ไป 25% แต่หากพบว่าเป็นทั้งคู่ ทารกก็จะเป็นธาลัสซีเมีย 100% 


ธาลัสซีเมียอันตรายต่อทารกในครรภ์ขนาดไหน? มีวิธีการรับมืออย่างไร?

ความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมีย

ความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมียในเด็กที่เกิดมานั้นมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บางคนอาจมีอาการเจ็บป่วยบ่อย โตช้า บวมน้ำ โหนกแก้มสูง เตี้ย ฟันยื่น ซีด ตับและม้ามโต ตาเหลือง หรือคุณแม่🤰อาจเกิดครรภ์เป็นพิษและทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ 

วิธีรับมือโรคธาลัสซีเมีย

สำหรับผู้ที่เป็นเพียงพาหะธาลัสซีเมียจะไม่มีอาการของโรคจึงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่ต้องทานยาใดๆ แต่หากเป็นโรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษากับคุณหมอ👨‍⚕️เพื่อรักษาตามชนิดที่เป็นค่ะ