post-title

วิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

แม้ว่าการคลอดลูกจะเป็นเรื่องน่ายินดีและน่าชื่นใจ แต่ในขณะเดียวกัน คุณแม่ก็สามารถเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ จากการรับความเครียดและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งในวันนี้เราจะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอดได้กันค่ะ 


ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าหลังคลอด

โรคซึมเศร้าหลังคลอดคือ?

โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression นั้นความจริงแล้วเป็นภาวะที่คุณแม่หลายๆคนกำลังเผชิญ ซึ่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า😔นั้นจะมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า อ่อนเพลียจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือ เลี้ยงลูกได้ตามปกติ ดังนั้นหากคุณแม่กำลังมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาจิตแพทย์👩‍⚕️เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งในบางรายอาจมีอาการอยากทำร้ายตนเอง หรือมีอาการอยากจบชีวิตตนเอง ก็ควรจะพบคุณหมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด และรับการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ 


สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

โรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

เกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนที่รวดเร็ว

เพราะหลังจากที่คุณแม่คลอด ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เคยสูงระหว่างตั้งครรภ์ก็จะลดลง📉อย่างรวดเร็ว  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมองจึงเป็นผลให้คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวนนั่นเองค่ะ 

แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ

กลุ่มที่ 1 : คุณแม่ซึมเศร้าเพราะยังปรับตัวหลังคลอดไม่ได้ เนื่องจากคุณแม่มีความกังวลเรื่องลูก👶 ซึ่งส่วนมากจะเป็นเฉพาะในช่วงอาทิตย์แรก และจะหายเองได้โดยที่ไม่ต้องรับการรักษา

กลุ่มที่ 2 : โรคซึมเซร้าหลังคลอด โดยจะมีอาการอ่อนไหวง่าย ร้องไห้บ่อย😢 นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร บางครั้งก็จะมีอาการขี้หงุดหงิด รู้สึกไม่ผูกพันกับลูก และอาจอยากทำร้ายตนเองหรือทำร้ายลูก โดยอาการจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 2 อาทิตย์ หรือ หลายเดือน ซึ่งไม่สามารถหายเองได้และคุณแม่จะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง🏥

กลุ่มที่ 3 : โรคจิตหลังคลอด ซึ่งจะพบว่าคุณแม่จะมีอาการร้องไห้ง่าย อาการฉุนเฉียว😠 มีอาการคล้ายไบโพล่าร์ ประสาทหลอน หูแว่ว หรืออาจได้ยินเสียงบอกให้จบชีวิตลูก ซึ่งมีความอันตรายและควรจะเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา


การรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

พบจิตแพทย์

หากสงสัยว่าตนเองมีอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแล้วล่ะก็ อย่าเพิ่งตื่นตกใจกลัวจนเกินเหตุ ทำใจสบายๆ และพบจิตแพทย์👩‍⚕️หรือนักจิตบำบัดเพื่อรับการรักษา โดยแพทย์อาจมีกิจกรรมทางจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายความเครียดที่มีอยู่ และอาจใช้ยา💊ช่วยด้วยในบางราย

คนรอบข้างสำคัญ

ไม่ว่าจะเป็นสามี พ่อแม่ หรือเพื่อนๆ คนรอบข้างสามารถเป็นกำลังใจที่สำคัญของคุณแม่ สามารถพูดคุย รับฟังความเครียดต่างๆ แบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูเจ้าตัวเล็กได้ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยบรรเทาความเครียดของคุณแม่👩ได้ค่ะ