post-title

เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?

เมื่อคุณหมอบอกกับคุณแม่ว่ากำลังมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หลายๆคนคงจะมีคำถามว่าแล้วการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นอันตรายหรือไม่ มีผลต่อเด็กในครรภ์หรือเปล่า รวมถึงจะต้องรับมือกับภาวะเบาหวานนี้ได้อย่างไรบ้าง เราไปพบคำตอบกันเลยค่ะ 


ทำความรู้จักกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์คือ

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์🤰 หรือ Gestational Diabetes เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงตลอดการตั้งครรภ์ โดยคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะตรวจพบในช่วง 24-28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ และสามารถส่งผลต่อแม่และทารก👶ในครรภ์ได้

อาการเมื่อเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักจะต้องไปตรวจน้ำตาลถึงจะทราบว่าเป็นเบาหวาน เพราะส่วนใหญ่อาการจะแสดงออกมาไม่แน่ชัด แต่ในบางรายก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย🚽 หรืออาจหิวน้ำบ่อย 


เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน?

เบาหวานส่งผลกระทบทั้งแม่และเด็กได้

ภาวะเบาหวานหากเป็นแล้วสามารถส่งผลกระทบต่อแม่และเด็กในครรภ์ได้ ทำให้มีโอกาสครรภ์เป็นพิษในระหว่างที่ตั้งครรภ์ หรืออาจต้องทำการผ่าคลอด🏥เนื่องจากเด็กจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าเด็กทั่วไป 

หลังคลอดก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้อีก

หลังจากคลอดคุณแม่ก็มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้อีก รวมถึงหลังคลอดทารกก็มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคตได้ รวมถึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจได้ น้ำหนักตัวจะน้อย และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำทันทีที่คลอด และหากร้ายแรงก็อาจเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ได้ค่ะ😢 


ปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงสามารถเกิดได้จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

✨ญาติเคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน

✨คุณแม่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน 

✨คุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสูง

✨ทารกในครรภ์มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม

✨ก่อนตั้งครรภ์คุณแม่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ 

✨เคยมีประวัติแท้งบุตรมาก่อน

✨คุณแม่เป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ 


วิธีรับมือภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

ควรดูแลอะไรบ้าง?

เมื่อพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ให้คุณแม่พยายามออกกำลังกายเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้อินซูลินในร่างกายทำงาน

พยายามแบ่งทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ🍲 มากกว่าการทานมื้อใหญ่ทีเดียว และที่สำคัญไม่ควรงดอาหารไปเลย เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายไม่ปกติ และไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างนานเกิน 3-4 ชั่วโมง

ควรทานอาการเช้าภายใน 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน

พยายามทานผลไม้และผัก🥗ให้มากขึ้น แต่ควรเลี่ยงน้ำผลไม้ หรือ ผลไม้ที่ผสมน้ำเชื่อม

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการมันจากสัตว์ หนังสัตว์ อาหารไขมันสูงอย่างไส้กรอก เบคอนเป็นต้น 

พยายามทานอาหารที่มีคาโบไฮเดรตอย่าง ข้าวกล้อง ธัญพืช🌾 มูสลี และใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์ในการทำอาหาร

หากคุณแม่ใส่ใจสุขภาพและคอยระวังเรื่องการกิน ก็จะมีส่วนช่วยให้ลูกได้คลอดออกมาอย่างปลอดภัยได้แล้วล่ะค่ะ อย่าลืมพักผ่อนนอนหลับ และไม่เครียดมากจนเกินไปนะคะ