post-title

เตรียมฉีดวัคซีนโควิดให้ทารก - 4 ขวบ!

ล่าสุดรัฐบาลได้ออกมาแจ้งว่า แม้โควิดจะถูกลดระดับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ประชาชนก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด รวมถึงยังเตรียมทยอยฉีดให้กับเด็กทารกไปจนถึงเด็ก 4 ขวบอีกด้วย โดยเริ่มฉีดตุลาคม 2022


อายุเท่าไหร่จึงสามารถฉีดได้?

หลังกระทรวงสาธารณสุข

ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินและกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีน💉ป้องกันโควิดนั้นยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและจะยังคงดำเนินการตามแผนเดิม โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จะสามารถเข้ารับการฉีควัคซีนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได้ตามสถานพยาบาล🏥ต่างๆ ไม่ว่าจะเคยฉีดหรือยังไม่เคยฉีดมาแล้วก็สามารถเข้าไปรับได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งได้เตรียมวัคซีน

สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี (รับ 1 เข็ม) ไว้ที่จำนวน 5 แสนโดส โดยวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้ม💉 ที่ใช้ฉีดให้กับเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปีนั้น จะได้รับมอบจากผู้ผลิตประมาณกลางเดือนตุลาคม และกระทรวงสาธารณสุขจะกระจายผ่านระบบสถานพยาบาลที่กำหนด รวมถึงจะมีการประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการฉีดให้ศูนย์เด็กเล็กโดยแพทย์👨‍⚕️ (ข้อมูลจากสำนักข่าวคมชัดลึก)


ทำไมจึงควรฉีด?

กรมควบคุมโรคเผยว่า

เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปีสามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์ฝาแดงพร้อมกับวัคซีนอื่นได้ในวันเดียวกัน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์👨‍⚕️ ยังเสริมอีกว่าเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ควรรับการฉีควัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันเนื่องจาก ที่ผ่านมาพบอัตราป่วยสูงถึง 1.5 และอัตราเสียชีวิตสูงถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กอายุ 5-9 ปี และโดยเฉพาะกับเด็กที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิต ดังนั้นเพื่อป้องกันจึงควรพาบุตรหลานเข้ารีบวัคซีน💉 ตามกำหนด

ต้องได้รับการฉีดอย่างไร?

เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปีนั้นถูกกำหนดให้ฉีควัคซีนโควิด19 ของไฟเซอร์ เป็นขนาด 0.2 ซีซี (3 ไมโครกรัม) โดยจะต้องรับจำนวนทั้งหมด 3 เข็ม โดยเข็มแรกและเข็มที่สองควรห่างกัน 1 เดือน และ เว้นอีก 2 เดือนเพื่อฉีดเข้มที่ 3 โดยหลังฉีดจะต้องสังเกตอาการ 30 นาที⏱️ และติดตามอาการจนครบ 1 เดือน

ผลข้างเคียงอันตรายไหม?

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวเสริมว่าสำหรับผู้ปกครองที่มีข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง ทางด้านสหรัฐอเมริกามีการฉีดและติดตามไปแล้วล้านกว่าโดสและพบว่าเด็กเล็ก👶นั้นมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต และไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจนเสียชีวิต จึงถือว่ามีความปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กนั่นเอง✅ (ข้อมูลจากสำนักข่าวไทยโพสต์)