คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าคุณแม่ที่กำลังท้องอยู่ควรจะหลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตราย แต่บางอย่างนั้นก็เป็นของที่อยู่ใกล้ตัวจนคุณแม่อาจจะคาดไม่ถึง สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงนั้นมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ
สารเคมีใกล้ตัวที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง
ยากันยุง
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากันยุง🦟 โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ยาฆ่าแมลง
ในยาฆ่าแมลงนั้นมีสารเคมีที่ใช้ในการทำลายระบบประสาทของแมลงเพื่อให้แมลงตาย🐜 ดังนั้นสารเหล่านี้ย่อมเป็นอันตรายต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกที่ระบบประสาทของลูกน้อยกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว
สารไตรโคลซาน
ไตรโคซาน (Triclosan) เป็นส่วนผสมที่สามารถพบได้บ่อยในสบู่🧼ต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีการทดลองศึกษาในสัตว์และพบว่า สารไตรโคลซานมีผลให้เกิดความผิดปกติในการเจริญพันธุ์และพัฒนาการอีกด้วย
สารพาทาเลต
สารพาทาเลต (Phthalates) เป็นสารเคมีที่พบได้ในพลาสติก ใช้ในการเพิ่มความยืดหยุ่น ความทนทานและความโปร่งใสของพลาสติก โดยหากได้รับสารนี้ สารจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และหากทารก👶ในครรภ์ได้รับสารชนิดนี้จะมีผลให้เกิดรูที่อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและหญิง หรือ มีอัณฑะเล็ก ตัวอสุจิน้อย หรือทำให้ผู้หญิงเกิดรังไข่ที่ผิดปกติและทำให้ไม่มีประจำเดือนได้
พลาสติกสารเคมีใกล้ตัวที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง
ทราบหรือไม่คะว่า พลาสติกทั่วไปที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น มีสารเคมีที่อาจทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดได้
โดยจากการศึกษา
ของ Winthrop University Hospital and Kaiser Permanente Southern California โดยพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีระดับของสารเคมีพลาสติก (Bisphenol A หรือ BPA)ในโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดมากกว่าคุณแม่🤰ที่มีระดับของสารเคมีพลาสติกต่ำ
นอกจากนั้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Ramkumar Menon มหาวิทยาลัย The University of Texas Medical Branch (UTMB) สหรัฐอเมริกา ยังกล่าวว่า 'ผู้หญิงมันมีการสัมผัสสาร BPA อย่างต่อเนื่องเพราะสารเหล่านี้ถูกใช้ในการผลิตและเคลือบผิวของภาชนะบรรจุอาหาร ดังนั้นเมื่อได้รับความร้อนจากไมโครเวฟ หรือ แหล่งความร้อน🔥อื่นๆ สารเหล่านี้ก็สามารถปนเปื้อนลงไปในอาหารได้'
และยังกล่าวเสริมว่า
'ในความเป็นจริงแล้ว BPA ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย และผู้หญิงเกือบทุกคนก็ล้วนสัมผัสกับสารนี้ไม่มากก็น้อย ซึ่งการวิจัยพบว่าผู้ป่วยทุกรายมีการสัมผัส BPA และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก'
BPA เสี่ยงต่อทารกในครรภ์
โดยทารกที่อยู่ในครรภ์ หรือทารกแรกเกิด หากได้รับสารนี้ก็จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชายหญิง
นอกจากนั้น นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดที่เข้ามาทำการคลอดบุตรที่โรงพยาบาล🏥 และจากตัวอย่างน้ำคร่ำของทารกที่เก็บรวบรวมในการคลอด พบว่า ระดับความเข้มข้นของสาร BPA ยิ่งสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเท่านั้น (ผลการวิจัยนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร🗞️ The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine)