post-title

ภาวะรกต่ำขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร? อันตรายขนาดไหน?

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นทางฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอารมณ์ที่แปรปรวน ซึ่งแม้ว่าคุณแม่จะพยายามดูแลตนเองแต่ก็อาจมีปัจจัยบางอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้อย่าง ปัญหาภาวะรกเกาะต่ำ ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถเกิดได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์


ทำความรู้จักกับรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ คืออะไร?

เป็นภาวะที่รกปิดขวางปากมดลูก หรือ คลุมปากมดลูกเพียงบางส่วน ซึ่งโดยปกติแล้วรกเหล่านี้ควรจะอยู่ด้านบนของมดลูกและอยู่ห่างจากปากมดลูก🤰

โดยผู้ที่มีภาวะรกเกาะต่ำ

เมื่อถึงเวลาคลอดปากมดลูกจะขยายออกและทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อบริเวณรกและมดลูกเกิดการฉีกขาด และทำให้มีเลือด🩸ออกมากก่อนและขณะคลอด

ซึ่งหมายความว่า

จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นแพทย์👩‍⚕️จึงมักแนะนำให้ผู้ที่มีภาวะรกต่ำทำการผ่าคลอด


อาการของรกเกาะต่ำ

อาการรกเกาะต่ำมักเกิดขึ้นในช่วงใด?

ภาวะรกเกาะต่ำส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในระหว่างปลายไตรมาสที่ 2 - ต้นไตรมาสที่ 3

มีอาการเป็นอย่างไร?

จะพบเลือดสีแดงสด🩸 ไหลออกจากช่องคลอด แต่มักจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งในบางรายอาจมีอาการเจ็บแปลบหรือปวด หรือรู้สึกว่ามีการบีบของมดลูกร่วมด้วยได้ หากคุณแม่เสียเลือดมากอาจทำให้ทารกซีดและเสียชีวิตได้ รวมถึงคุณแม่ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากพบอาการดังกล่าวคุณแม่🤰ควรไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุดค่ะ


วิธีการดูแลและป้องกันภาวะรกเกาะต่ำ

ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีป้องกันได้ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ไม่สามารถไปกำหนดหรือควบคุมการยึดของตำแหน่งรกในมดลูกได้ แต่คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะรกต่ำได้ อย่างการงดบุหรี่🚭 และการรักษาสุขภาพ

ดูแลอย่างไรเมื่อทราบว่าเป็น

คุณแม่ควรนอนพ้กผ่อนให้มาก และระวังไม่ให้กระทบกระเทือนทารกในครรภ์ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนักทั้งงานบ้านและงานนอกบ้าน หากพบว่ามีเลือดควรรีบไปพบแพทย์👨‍⚕️ที่ฝากครรภ์ไว้ทันทีค่ะ