post-title

คุณแม่ควรทานเผื่อลูกน้อยเยอะแค่ไหนระหว่างการตั้งครรภ์?

สิ่งที่คุณแม่ทานเข้าไประหว่างตั้งครรภ์คือสิ่งที่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่กินด้วย!? การบริโภคสารอาหารระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์และสุขภาพของคุณแม่ แต่คุณแม่กำลังทานอาหารเพิ่มเป็น 2 เท่าเผื่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่าคะ? ความจริงแล้วใน 1 วันคุณแม่ต้องทานปริมาณอาหารเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ต้องทานเป็น 2 เท่าจากตอนก่อนตั้งครรภ์จริงไหม? เราไปพบคำตอบกันเลยค่ะ 


ปริมาณที่เหมาะสมที่คุณแม่ควรทานคือเท่าไหร่กันแน่?

ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดน้ำหนักคุณแม่ควรขึ้นเท่าไร?

✨ไตรมาสแรก - ไม่ควรขึ้นเกิน 2 กิโลกรัม

✨ไตรมาสที่ 2 และ 3 - ควรขึ้นไม่เกิน ครึ่งกิโลกรัม/สัปดาห์

✨ดังนั้นตลอดการตั้งครรภ์ - น้ำหนักของคุณแม่ควรเพิ่มขึ้น 12-15 กิโลกรัม

✨คุณแม่ที่มีค่า BMI มากกว่า 25 ก่อนตั้งครรภ์ (ค่อนไปทางท้วม) - ควรคุมน้ำหนักไม่ให้เกิน 8-10 กิโลกรัมค่ะ 

ควรทานอาหารมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่าเผื่อลูกในครรภ์จริงหรือไม่?

คำตอบคือไม่จริงค่ะ แต่เนื่องจากว่าในระหว่างการตั้งครรภ์มีปริมาณเลือดและสารอาหารที่ต้องส่งไปยังทารกในครรภ์🤰จึงแนะนำให้คุณแม่ทานเพิ่มมากกว่าเดิมประมาณ 350 กิโลแคลอรี่ในช่วงไตรมาสสองของการตั้งครรภ์และเพิ่มขึ้นประมาณ 450 กิโลแคลอรี่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ 


แล้วจะต้องทานอย่างไรดี?

เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ

ในช่วงที่ตั้งครรภ์นั้นคุณแม่ไม่ควรทานอาหารในปริมาณมากจนเกินไป และควรจะทานให้ครบ 3 มื้ออย่างตรงเวลา รวมถึงควรเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนด้วยนะคะ 🥗 เพราะหากคุณแม่ทานสารอาหารได้ไม่ครบถ้วน น้ำหนักก็อาจจะไม่ขึ้นตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น รวมถึงยังส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในครรภ์อีกด้วยค่ะ 

หิวบ่อยมาก ทานอย่างไรจึงจะไม่อ้วน?

มีวิธีที่เหมาะแก่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์🤰 คือการแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้ออาหารเล็กๆและทานบ่อยๆ แทนการกินครั้งละเยอะๆ วิธีนี้จะทำให้ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

และหากกลัวอ้วนอาจทานอาหารเช้าและกลางวันตามปกติ และมื้อเย็นให้เน้นทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมค่ะ

ควรทานอาหารแบบไหน และควรเลี่ยงอาหารแบบไหน?

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยควรทานอาหารที่มีการปรุงสุก หลีกเลี่ยงอาหารดิบ กึ่งสุกกึ่งดิบ🥩 อาหารที่มีรสจัด ขนมจุกจิก และเครื่องดื่มคาเฟอีน


หากน้ำหนักของคุณแม่มากเกินไป ส่งผลอย่างไรสุขภาพของคุณแม่และเด็กในครรภ์?

หากคุณแม่น้ำหนักมากเกินไป

คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหลายๆชนิดเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โดยการลดน้ำหนักหรืออดอาหารระหว่างตั้งครรภ์นั้นจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด หรือ Ketosis ซึ่งส่งผลกับพัฒนาการทางสมองของลูกได้🧠

ดังนั้นการคุมน้ำหนักของคุณแม่

ให้ขึ้นทีละน้อยตามหลักข้างต้น จะส่งผลให้น้ำหนักตัวของคุณไม่ขึ้นมามากจนเกินไปและจะทำให้กลับมาฟิตหุ่นได้ไว🏃‍♀️ขึ้นหลังคลอดได้อีกด้วยค่ะ