post-title

ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวครั้งแรก จะรู้สึกอย่างไรนะ?

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้นจะเริ่มรู้สึกได้ตอนไหน? เมื่อไหร่จึงจะรู้สึกได้อย่างชัดเจน? การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์มีความหมายอะไรบ้าง? เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อมๆกันเลยค่ะ 


ทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ให้มากขึ้นกัน!

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์คือ?

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน🤰 กล้ามเนื้อและกระดูกของทารกในครรภ์ก็จะเจริญเติบโตจนเริ่มเหยียดแขนและขาได้ ทารกก็จะเริ่มเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในน้ำคร่ำ ซึ่งเวลาที่แขนของทารกไปกระทบกับผนังมดลูกของคุณแม่ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ ซึ่งการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์👶นั้นยังเป็นการสื่อสารที่สำคัญที่ทารกจะคอยบอกถึงสภาพร่างกายของตนเองอีกด้วยค่ะ


เมื่อไหร่ที่คุณแม่จะสามารถรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นครั้งแรก?

จะรู้สึกได้เมื่อไหร่?

โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์เป็นครั้งแรกในช่วงสัปดาห์ที่ 18-20 ของการตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาที่คุณแม่แต่ละท่านจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้นแตกต่างกันออกไป ตามปริมาณน้ำคร่ำ🌊 ความหนาของไขมันใต้ผิวหนังและต่ำแหน่งของรก

หากยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวควรทำอย่างไร?

ดังนั้นหากถึงช่วงสัปดาห์ที่ 18-20 แล้วยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ คุณแม่สามารถตรวจสอบว่าทารกในครรภ์เจริญเติบโตอย่างปลอดภัยและแข็งแรงหรือไม่ผ่านการตรวจอัลตราซาวด์ได้🏥 หากไม่มีปัญหาอะไรก็ให้สบายใจได้เลยค่ะ 


การเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกที่มีต่อการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

ความจริงแล้วทารกเริ่มดิ้นก่อนที่คุณแม่จะรู้สึกอีก!

เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ ระบบประสาทของทารก🧠ก็จะมีการเจริญเติบโต และในสัปดาห์ที่ 12 ทารกในครรภ์ก็จะเริ่มอมนิ้วมือ และเมื่อผ่านไป 20 สัปดาห์ ก็จะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ซึ่งช่วงนี้เองที่คุณแม่จะสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้

เมื่อทารกเคลื่อนไหวคุณแม่จะรู้สีกอย่างไร?

ความจริงแล้วการรับรู้ของแต่ละคนนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป บางคนที่ตอนแรกก็จะรู้สึกเหมือนมีไฟฟ้าสถิตย์วิ่งผ่านไปมาในท้อง ก็จะเปลี่ยนไปรู้สึกเหมือนมีอะไรขยับดุ๊กดิ๊ก ผ่านไปก็จะรู้สึกว่าว่าลูกกำลังเตะ🦶ท้องหรือสะอึกอยู่นั่นเองค่ะ และเมื่อใดที่ลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็จะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของลูกด้วยตาเปล่าได้ค่ะ