post-title

เหตุผลที่ไม่ควรแคะหูทารก

ถ้าลูกไม่ได้ทำความสะอาดหูนานๆต้องแคะให้ลูกหรือไม่? คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งแคะหูให้ทารกนะคะ! เพราะการแคะหูทารกนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้อย่างเกิดการอักเสบในหู แถมหูอาจอุดตันมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้การแคะหูให้ลูกจะมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ


หากแคะหูลูกน้อยจะเกิดปัญหาเหล่านี้ได้

ขี้หูอุดตัน

เนื่องจากรูหูของเจ้าตัวเล็กยังมีขนาดเล็ก👂 และขนาดของคอตตอนบัตมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการใช้คอตตอนบัดเข้าไปแคะ จะกลายเป็นดันขี้หูเข้าไปในรูหูและเกิดการอุดตันในรูหูมากขึ้น ทารกอาจได้ยินเสียงได้ไม่ชัดเจน และเมื่อขี้หูเริ่มแห้ง ก็จะเริ่มมีความแข็ง ส่งผลให้ทารกมีอาการเจ็บหูมากขึ้น จนต้องใช้ยาหยอดหูในการรักษาเท่านั้น

รูหูติดเชื้อ

ขนาดของคอนตอนบัตที่มีขนาดใหญ่จนนอกจากจะดันขี้หูให้เข้าไปอุดตันแล้ว การใช้คอนตอนบัตที่ไม่สะอาดอาจเสี่ยงให้หูของทารก👶เกิดการติดเชื้อได้อีกด้วย อย่าง เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ส่งผลเกิดโรคต่างๆในหูได้ แถมหากเข้าไปในรูหูจนลึกเกินไปก็อาจทำให้แก้วหูทะลุได้ด้วย

รูหูเกิดเชื้อรา

หลายๆคนอาจนำคอตตอนบัตจุ่มน้ำให้เปียกหมาดแล้วจึงมาทำความสะอาดหูของลูก ซึ่งความจริงแล้วเป็นวิธีที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง การทำความสะอาดนั้นสามารถทำได้บริเวณปีกหูด้านนอก การสอดเข้าไปในหูจะทำให้ขี้หูอุดตันและเปียกชื้น และเกิดการเติบโตของเชื้อรา🦠ในรูหูได้ ดังนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดด้วยคอตตอนบัตจะดีกว่านะคะ


หากแคะหูลูกน้อยจะเกิดปัญหาเหล่านี้ได้

หูชั้นกลางอักเสบ

หูชั้นกลางคือช่วงโพรงอากาศเล็กๆ ระหว่างช่องหูชั้นในและเยื่อแก้วหู ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อทารกมีอาการหวัด โดยการจาม🤧และการสั่งน้ำมูกแรงๆ จะทำให้ของเหลวขึ้นไปยังหูชั้นกลาง และเมื่อคุณพ่อคุณแม่แคะหูจะส่งผลให้ของเหลวกระจายตัวแพร่เชื้อโรคและทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยทารกจะมีอาการปวดหู หูอื้อ และร้องไห้บ่อย

หูชั้นในอักเสบ

โดยหูชั้นในเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยในการควบคุมในเรื่องของการทรงตัวของทารกและมีลักษณะการติดเชื้อเช่นเดียวกับหูชั้นกลาง โดยเกิดจากการที่ของเหลวทางจมูกและลำคอ เมื่อไปแคะขี้หูก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น ทารกจะมีอาการเวียนศีรษะ ซึม อาเจียน🤮 แขนขา อ่อนแรง เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก

หูชั้นนอกอักเสบ

การแคะหูบ่อยๆ รวมถึงการมีน้ำเข้ารูหูของลูกน้อยเมื่ออาบน้ำ โดยที่ไม่ได้ปิดหูให้กับลูกนั้น จะส่งผลให้ขี้หูที่อัดแน่นมีความชื้นจากน้ำ ทำให้แบคทีเรีย🦠 มีการเติบโต และเกิดการอักเสบในหูของลูกน้อยได้ ทารกจะมีอาการปวดหู และมีน้ำหนองไหลออกมาจากหู หากคุณพ่อคุณแม่พบอาการนี้ให้พาลูกน้อยพบแพทย์ทันที แพทย์จะให้การรักษาด้วยการล้างหูและยาปฏิชีวนะค่ะ

เกิดฝึด้านใน Ear Pit

ทารกบางคนอาจพบจุดบริเวณเหนือหู👂ที่เชื่อมระหว่างผิวหนังกับผิวด้านล่าง ซึ่งเกิดจากการสร้างรูหูที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ Ear Pit สามารถติดเชื้อได้ง่าย การแคะหูจะทำให้มีการกระแทกในรูหูบ่อยครั้ง และทำให้ Ear Pit เกิดการติดเชื้อและอักเสบจนเกิดเป็นฝีด้านในได้ โดยวิธีการรักษาจะต้องผ่านำหนองออก จึงจะสามารถทำความสะอาดหูด้านในได้ค่ะ

การทำความสะอาดหูนั้นควรทำความสะอาดแค่ใบหูด้านนอกเท่านั้น โดยสามารถใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบหูของทารก พยายามให้โดยความชื้นน้อยที่สุด ขี้หูนั้นไม่ได้เป็นอันตราย แถมมีประโยชน์ช่องป้องกันสิ่งสกปกรกต่างๆไม่ให้เข้ามาในรูหู และสามารถหลุดออกมาเองได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ