post-title

วิธีเล่านิทานให้ลูกฟังให้น่าสนใจ!

ความจริงแล้ว แม้ว่าการเล่านิทานจะไม่ได้มีกฎตายตัว แต่หากคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจรายละเอียดในการเล่านิทานมากขึ้น ก็จะสามารถดึงศักยภาพความสามารถของลูกได้ โดยการเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วม ซึ่งเรามีเทคนิคในการอ่านนิทานมาฝากกันแล้วค่ะ


ให้ความสำคัญกับน้ำเสียงที่อ่าน

ใช้น้ำเสียงดึงดูดความสนใจ

เมื่อเล่านิทานหากใช้เทคนิคในการใช้น้ำเสียงโดยทำสูงสูงต่ำ เปลี่ยนความเร็วช้าในการอ่าน ก็สามารถดึงดูดความสนใจของลูกน้อยได้และทำให้หัวเราะ😂ออกมาได้แน่นอนค่ะ 

ให้ลูกเป็นคนเลือกหนังสือนิทานที่อยากอ่าน

การใช้อิสระกับลูกให้เป็นคนเลือกหนังสือที่อยากอ่าน แม้ว่าเราอาจพบว่าลูกมักจะชอบเลือกหนังสือเล่มเดิม ฟังซ้ำๆไม่มีเบื่อ แต่อย่างไรก็ตามการให้โอกาสลูกได้เลือกนั้นเป็นการให้ลูกแสดงความต้องการ และความใส่ใจ และจะทำให้ลูกตั้งใจฟังมากกว่า รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถลองเกริ่นนำเนื้อเรื่องของนิทานเรื่องใหม่ให้ลูกฟังเพื่อเป็นการเชื้อเชิญให้ลูกอ่านหนังสือเล่มใหม่ๆ📖ได้


หาของประกอบฉาก

หาอุปกรณ์ประกอบฉาก 

โดยสามารถหาวัสดุง่ายๆ มาเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก หรืออาจใช้แค่นิ้วมือมาขยับประกอบฉากให้กับเข้าเรื่องราวจากในหนังสือ นอกจากนั้นปัจจุบันยังมีนิทานที่สอดแทรกลูกเล่นมากมายให้ลูกให้เล่นสนุกอีกด้วยค่ะ🐬

ให้ลูกลองเติมเนื้อเรื่อง

เมื่อเล่านิทาน คุณพ่อคุณแม่สามารถเว้นเรื่องราวให้ลูกลองเล่าเติมเนื้อเรื่องด้วยตนเองได้ ซึ่งทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเล่าไปทั้งหมด โดยหลังจากที่ลูกเข้าใจเนื้อเรื่องแล้ว ก็ให้เขาได้จิตนาการและเดาว่าเรื่องราวของเรื่องต่อไป โดยอาจถามว่า คิดว่าหนูนิดจะทำอะไรต่อหรอคะ?🤔 เป็นต้น


สอดแทรกจิตนาการของคุณพ่อคุณแม่

ไม่จำเป็นต่อเล่าตามหนังสือเสมอไป

การเล่านิทานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเล่าตามหนังสือเสมอไป คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่าเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์ส่วนตัว หรือเล่าตามจินตนาการ💭ของคุณพ่อคุณแม่สอดแทรกระหว่างการเล่านิทานได้ ทราบหรือไม่คะว่าเด็กๆชอบที่จะฟังเรื่องราวใหม่ๆ รวมถึงชอบฟังเรื่องเล่าจริงของคุณพ่อคุณแม่และได้เรียนรู้เรื่องราวนอกหนังสือได้อีกด้วย

การอ่านหนังสือ📖ให้ลูกฟังเพียงวันละ 15-30นาทีก็สามารถที่จะเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกได้แล้ว เพียงใช้เทคนิคข้างต้นที่กล่าวมา รับรองว่าการเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่จะต้องสนุกกว่าเดิมแน่นอนค่ะ