post-title

คุณแม่รู้สึกเจ็บหรือปวดซี่โครงอยู่หรือเปล่าคะ?

อาการปวดซี่โครงเป็นอาการปกติที่พบได้ในคุณแม่ที่ท้องเริ่มโตขึ้น หรือช่วงท้องเริ่มแก่ เนื่องจากคุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวของลูกน้อยที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น น้ำคร่ำที่อยู่ในครรภ์ และมดลูกที่ขยายตัวจนกดทับบริเวณกระดูกซี่โครงนั่นเอง วันนี้เราจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดซี่โครงและวิธีการบรรเทาอาการดังกล่าวค่ะ


ทำไมคุณแม่ถึงรู้สึกปวดซี่โครง?

ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง

การตั้งครรภ์ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะฮอร์โมน Relaxin ที่จะผลิตมากขึ้นเป็นพิเศษในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยทำให้ข้อต่อกระดูกเเละเส้นเอ็นอ่อนตัวและยืดมากขึ้น ทำให้คลอดลูกได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ซึ่งเมื่อท้องมีความยืดตัวมากขึ้นก็จะไปเบียดเบียนอวัยวะส่วนอื่นๆส่งผลให้คุณแม่ปวดซี่โครงนั่นเองค่ะ🤰

มดลูกเกิดการขยายตัว

เมื่อทารกในครรภ์เติบโตขึ้น ร่างกายของทารกก็จะขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลทำให้มดลูกขยายตัวตามไปด้วยจนไปกดทับชายโครงของคุณแม่ คุณแม่จึงรู้สึกเจ็บบริเวณซี่โครงนั่นเอง แต่อาการเจ็บดังกล่าวไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่อาจจะเจ็บมากหรือเจ็บน้อยเท่านั้น ขึ้นอยู่กับความเเข็งเเรงของคุณแม่แต่ละท่านนั่นเอง💪


วิธีป้องกันอาการเจ็บซี่โครงของคุณแม่ท้องแก่

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าอาการเจ็บซี่โครงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกๆคน แต่ขึ้นอยู่กับอิริยาบถหรือกิจกรรมในแต่ละวันที่คุณแม่ทำ ซึ่งอาการนี้มักเกิดในคุณแม่ท้องแก่หรือคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ตั้งเเต่6เดือนขึ้นไป ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันอาการเจ็บซี่โครงที่อยากนำมาแนะนำให้คุณแม่ได้ลองทำตามกันดูค่ะ

หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอิริยาบถเร็ว

เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่อาจจะลืมตัวเพราะก่อนตั้งครรภ์เคยชินกับการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าทางเร็วๆ แต่ถ้าหากกลายเป็นคุณแม่แล้วจะต้องอย่าเผลอเปลี่ยนอิริยาบถเร็วๆเป็นอันขาด และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น เวลาจะลุกจากเก้าอี้🪑แล้วลุกขึ้นยืนนั้น คุณแม่ควรเอียงตัวเล็กน้อยเพื่อเอามือยันเก้าอี้หรือโต๊ะตรงหน้าก่อน จากนั้นจึงค่อยๆออกแรงถีบเท้าดันตัวเองขึ้นมา เป็นต้น

อย่าเดินเร็วจนเกินไป

ในขณะตั้งครรภ์ไม่ว่าจะช่วงท้องอ่อนหรือท้องแก่ คุณแม่ควรเดินช้าๆค่อยๆและควรก้าวเท้า🚶‍♀️อย่างพอดี ไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป เพราะถ้าหากก้าวเท้าไม่พอดี อาจจะทำให้คุณแม่หกล้มและเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

เลือกชุดชั้นในที่พอดีเเละใส่สบาย

คุณแม่ควรวัดขนาดหน้าอกตนเองทุกเดือน เพราะเสื้อชั้นในไม่ควรไปดึงรั้งหรือกดทับบริเวณชายโครง โดยเฉพาะช่วงท้องใหญ่ คุณแม่ควรเลือกสวมบราที่ไม่มีโครงเลย เเละควรเลือกสวมเสื้อชั้นในเเบบสบายๆดีที่สุด ส่วนกางเกงใน🩲นั้นก็ควรเลือกสวมแบบพอดีตัว ใส่สบาย จะได้ไม่อึดอัดค่ะ

ควรนั่งและยืนหลังตรง

การนั่งหลังตรง💺จะช่วยทำให้มดลูกไม่ไปกดทับชายโครง ส่งผลให้คุณแม่เจ็บซี่โครงน้อยลงได้ หรือคุณแม่อาจจะลองหาหมอนมาหนุนหลังจะช่วยให้นั่งพิงได้สบายมากยิ่งขึ้น ส่วนเวลายืนก็ควรพยายามยืนหลังตรง ไม่ห่อหรือยกไหล่ เนื่องจากการจัดสรีสระตนเองให้ตรงจะช่วยลดอาการปวดซี่โครงได้ค่ะ

หากเจ็บท้องต้องพักร่างกายทันที อย่าหักโหม

ถ้าหากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องแม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยควรรีบพักร่างกายทันที ห้ามคิดว่าเจ็บนิดเดียวไม่เป็นไร เพราะนี่อาจส่งผลร้ายเเรงทำให้ถึงขั้นแท้งเลยทีเดียว ควรนอนพัก🛏️ อย่าขยับตัวมาก อาจหาหมอนมารองบริเวณใต้ท้องเอาไว้ด้วยก็ได้


ชวนคุณแม่ท้องแก่บริหารร่างกาย

แม้ว่าจะเตือนคุณแม่ว่าไม่ควรขยับร่างกายมากนัก แต่การออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆอย่างถูกวิธีก็เป็นเรื่องที่สำคัญเเละจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ท้องแก่หรือคุณแม่ไตรมาสสุดท้าย โดยวิธีบริหารร่างกายที่อยากจะเเนะนำให้คุณแม่ได้ลองทำมีดังนี้

โยคะท่าเเมวและวัว (Cat and Cow Pose)

การบริหารโยคะท่านี้จะช่วยบริหารหลังส่วนล่างหรือบริเวณกระดูกเชิงกราน เรียกสั้นๆง่ายๆว่า ท่าโยคะเเมว โดยเริ่มจากคุกเข่าก่อน จากนั้นเเยกเข่าทั้งสองข้างห่างออกจากกันพร้อมวางมือราบเเนบพอดีช่วงไหล่หรือช่วงตัว เงยศีรษะขึ้น เชิดคาง แอ่นหลัง และหายใจเข้า-ออกช้าๆโดยนับ1-5ในใจ  จากนั้นค่อยๆหายใจออกพร้อมกับเก็บคางชิดกับหน้าอก แอ่นอกขึ้น ค้างท่าไว้สักพัก แล้วจึงกลับไปทำซ้ำประมาณ 3-5รอบ ควรทำสม่ำเสมอในตอนเช้าทุกๆวัน🌞

ท่าออกกำลังกายยืดตัว

การบริการบืดตัวนี้ควรทำหลังจากบริหารโยคะท่าแมวเสร็จเเล้ว โดยอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากคุณพ่อร่วมด้วย เริ่มจากคุณแม่ค่อยๆนั่งขัดสมาธิลงบนพื้นสบายๆ วางขาลงเท่าที่จะทำได้ จากนั้นนั่งหลังตรง ชูแขนขึ้นเหนือศีรษะแล้วทำท่าพนมมือไว้พร้อมสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ แล้วให้คุณพ่อค่อยๆดึงแขนคุณแม่ขึนเเละลงช้าๆ ทำซ้ำแบบนี้ไปประมาณ10รอบ ขอเน้นย้ำว่าต้องทำช้าๆ ห้ามเผลอทำเร็วเด็ดขาดนะคะ🙅‍♀️