post-title

โรคซึมเศร้ามีส่วนทำให้มีลูกยากจริงไหมนะ?

        ในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านหลายๆท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ “ภาวะซึมเศร้า” แต่ท่านทราบหรือไม่คะว่า ภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อการมีบุตรได้เช่นกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าข่ายประสบภาวะดังกล่าวหรือไม่ แล้วถ้าเข้าข่ายจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากวางแผนที่จะมีเจ้าตัวน้อยพอดี บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ


มาทำความรู้จักโรคซึมเศร้ากัน

โรคซึมเศร้าคืออะไร เกิดขึ้นได้ยังไง

โรคซึมเศร้าเป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีความอ่อนไหวได้ง่ายกับสิ่งเร้ารอบตัว จัดการและรับมือ👋กับอารมณ์ได้น้อยลงจนไปถึงไม่ได้เลย ส่งผลให้ทัศนคติหรือพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนไปจนเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันสาเหตุของภาวะซึมเศร้านั้นมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง🧠อย่างฉับพลันปมปัญหาชีวิตในวัยเด็กที่ทำให้เกิดความฝังใจ หรือการที่ผู้ป่วยต้องเจอกับเหตุการที่ส่งผลลบต่อความรู้สึกหนักๆ

อาการที่สังเกตได้จากภาวะซึมเศร้า

💫อารมณ์ไม่คงที่ ในที่นี้หมายถึงมีความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่ง่ายและบ่อย อาจมีความสุขมากๆ สักพักก็เริ่มเบื่อหน่าย สะเทือนใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ สิ่งที่เคยชอบก็ไม่ชอบ ไม่อยากทำ รวมไปถึงการมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายขึ้น

💫ทัศนคติต่อสิ่งต่างๆเปลี่ยนไป และมักจะเปลี่ยนไปในแง่ลบ ไม่ว่ากับทั้งเรื่องอื่นๆหรือเรื่องของตนเอง มองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง รู้สึกเป็นภาระต่อคนรอบข้าง

💫มีสมาธิในการจดจ่อและความจำที่แย่ลง หลงลืมง่าย ขาดสติในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันลดลงอย่างเห็นได้ชัด

💫ทั้งหมดที่กล่าวมานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสังคมรอบข้าง มักเก็บตัวอยู่คนเดียว เซื่องซึม รู้สึกว่าตนเองอยู่คนเดียวจึงคิดที่จะตัดสินใจทำอะไรคนเดียว ด้วยความที่มีอารมณ์ไม่คงที่จึงอาจส่งผลให้ทะเลาะกับคนรอบข้างได้ง่าย


ภาวะซึมเศร้าส่งผลอะไรบ้าง? วิธีปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อการมีลูกได้ยังไง

แน่นอนว่าผู้ป่วยซึมเศร้าจะมีความเครียดประกอบ ซึ่งความเครียด ความวิตกกังวล ล้วนแล้วแต่เกิดจากความผิดปกติของสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ในคุณผู้หญิงอาจส่งผลให้ไข่🥚ไม่ตกตามเวลา หรือไข่ที่ตกไม่ได้คุณภาพมากพอที่จะทำการผสม ผู้ป่วยบางท่านมีอาการทำร้ายตนเองร่วมด้วย หากตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง👶 อีกทั้งหากยังทำการรักษาโดยใช้ยาอยู่ ก็จะมีความละเอียดอ่อนในการเลือกใช้ยามากขึ้น เพราะแพทย์ต้องพิจารณาว่ายาจะส่งผลเสียต่อเด็กในครรภ์ในอนาคตหรือไม่

การปฏิบัติตัวหากเข้าข่ายภาวะซึมเศร้า แต่อยากมีลูก

อันดับแรกคุณแม่ควรเข้ารับการประเมินความรุนแรงของโรคจากจิตแพทย์👩‍⚕️ เพื่อตัดสินใจเลือกหนทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพแต่ส่งผลข้างเคียงต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยที่สุด หากรักษาหายแล้ว หรือจิตแพทย์ยืนยันว่าสามารถมีบุตรได้ จึงไปทำการตรวจสุขภาพร่างกายและปรึกษาแนวทางในการตั้งครรภ์กับแพทย์ เพื่อตรวจสอบว่าตนเองและสามีมีข้อจำกัดในการมีลูกหรือไม่ ในขณะนั้นภาวะซึมเศร้าที่ตนเองเคยเป็นหรือเป็นอยู่เป็นข้อจำกัดในการตั้งครรภ์ไหมหากมีข้อจำกัด จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว🧪ช่วยหรือไม่ ทั้งหมดนี้แพทย์สามารถให้คำปรึกษาและข้อปฏิบัติตนโดยละเอียดให้กับคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายได้ค่ะ

        จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช้ข้อจำกัดของการมีลูก แต่ก็ยังเป็นหัวข้อที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ และได้รับการดูแล คำแนะนำ และคำปรึกษาอย่างถูกต้องจากทั้งแพทย์และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากคุณผู้อ่านท่านใดที่กำลังวางแผนจะมีลูกแล้วมีอาการเข้าข่าย หรือไม่ได้วางแผนจะมีลูกแต่มีอาการเข้าข่ายก็ตาม ควรปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการ โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาอย่างถูกวิธี และเป็นเพียงโรคหนึ่งที่เราทุกคนมีโอกาสพบเจอได้ ไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด เพียงแค่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์ค่ะ