post-title

ทำไมโฟลิกจึงมีความจำเป็น? ต้องทานเท่าไหร่?

คุณแม่หลายๆท่านทั้งรวมทั้งคุณผู้อ่านคงเคยได้ยินมาว่า กรดโฟลิกเป็นหนึ่งในสารอาหารที่คุณแม่ที่กำลังจะมีเจ้าตัวน้อยควรรับประทาน แต่จริงๆแล้วกรดโฟลิกสามารถกินได้เพียงในขณะอุ้มท้องหรือไม่ มีปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ กินมากไปเป็นอันตรายหรือเปล่า บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านอย่างแน่นอน แต่ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับกรดโฟลิกกันก่อนค่ะ


ทำไมคุณแม่ถึงต้องทานกรดโฟลิก

กรดโฟลิกคืออะไร

ขึ้นชื่อว่ากรดแต่ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด กรดโฟลิกเป็นสารอาหารประเภทหนึ่ง (วิตามินบี 9 ชนิดหนึ่ง) บางท่านอาจเคยได้ยินอีกชื่อ คือ โฟเลต ให้รับรู้ไว้ว่าล้วนเป็นสารอาหารตัวเดียวกัน โฟลิกเป็นสารอาหารที่สามารถพบได้ตามอาหารจากธรรมชาติที่หารับประทานได้ไม่ยากเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข่แดง🥚 ตับ ผักใบเขียว ผักสีส้ม และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นส่วนใหญ่ค่ะ

ประโยชน์ของโฟลิก

กรดโฟลิกมีส่วนช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยในท้องคุณแม่เป็นหลัก ช่วยตั้งแต่ในระยะแรกที่เกิดการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์ การพัฒนาระบบประสาท สมอง และไขสันหลัง ช่วยในเรื่องของการสร้างเม็ดเลือดแดง🩸ให้แข็งแรง และยังช่วยเสริมสร้างการสร้างเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของเจ้าตัวน้อยอีกด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกันค่ะ หากคุณแม่รับประทานกรดโฟลิกมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาโลหิตจางทั้งกับตนเองและกับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ค่ะ


รับประทานแค่ไหนจึงจะพอดี?

อันที่จริงแล้ว

กรดโฟลิกสามารถรับประทานได้ตั้งแต่ช่วงเตรียมตัวจะตั้งครรภ์ซึ่งก็คือก่อนตั้งครรภ์จะดีที่สุดค่ะ และควรรับประทานต่อไปในปริมาณที่เหมาะสมจนกว่าจะคลอดบุตรเลย สำหรับช่วงก่อนตั้งครรภ์แนะนำว่าควรได้รับโฟลิกไม่น้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน หากตั้งครรภ์แล้วให้เพิ่มปริมาณเป็น 0.8 มิลลิกรัมต่อวัน และไม่ควรรับประทานเกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน💊 จะเห็นว่าไม่ใช่ปริมาณที่เยอะเลยใช่ไหมคะ เพียงแค่คุณผู้อ่านกินอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกตามที่ยกตัวอย่างข้างต้น ก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับกรดโฟลิกตามเกณฑ์อยู่แล้ว แต่หากไม่มั่นใจก็สามารถรับประทานโฟลิกในรูปแบบของอาหารเสริมได้ค่ะ

หากรับประทานโฟลิกไม่พอ จะเกิดอะไรขึ้น ?

การขาดกรดโฟลิกจะส่งผลอย่างชัดเจนในคุณแม่ที่กำลังมีเจ้าตัวน้อยค่ะ👶 เด็กในท้องอาจมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเจริญที่ไม่เต็มที่ของระบบประสาทและสมอง กะโหลกศีรษะไม่ปิดจนผิดปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

        จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงจากการขาดกรดโฟลิกค่อนข้างน่ากลัวเลยใช่ไหมคะ ดังนั้นการควบคุมเรื่องสารอาหารที่คุณแม่หรือกระทั่งคุณผู้หญิงที่วางแผนจะมีเจ้าตัวน้อยจึงสำคัญมาก หากไม่มั่นใจว่าสามารถทำได้เอง แนะนำให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านของการตั้งครรภ์ รวมไปถึงนักโภชนาการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับความรู้ในด้านการกินอาหาร และได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เป็นประโยชน์กับทั้งลูกน้อยและตัวของคุณแม่เองค่ะ