post-title

รวมเทคโนโลยีผสมเทียมในปัจจุบัน

             คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายหลายท่านอาจเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างกับคำว่า “ภาวะมีบุตรยาก” หรือบางท่านอาจกำลังประสบอยู่ แต่นอกจากวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากแล้ว หากดูจากความหมายของคำ การที่เรามีบุตรยากก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีไม่ได้เลยใช่ไหมคะ ดังนั้นผู้ที่ต้องประสบกับภาวะมีบุตรยากก็อาจยังไม่จำเป็นต้องรอรักษาจนสำเร็จจึงจะมีบุตรได้ เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ทุกท่านได้ค่ะ วันนี้บทความของเราได้นำ 6 เทคโนโลยีทางการแพทย์มานำเสนอต่อคุณผู้อ่านแบบเข้าใจง่ายๆ จะมีวิธีอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ


เทคโนโลยีผสมเทียมในปัจจุบัน

Intrauterine Insemination (IUI)

เป็นการฉีดน้ำเชื้อจากคุณผู้ชายเข้าไปในโพรงมดลูกของคุณผู้หญิงในวันที่ไข่ตกพอดี เพื่อความแน่ใจว่าจะทำให้ตัวอสุจิของคุณผู้ชายและไข่ของคุณผู้หญิงสามารถผสมกันได้ แพทย์ก็จะทำการคัดเลือกตัวอสุจิที่มีคุณภาพดี แข็งแรง วิ่งเร็ว🏃‍♀️ และเพื่อยืนยันว่าจะฉีดเข้าโพรงมดลูกของคุณผู้หญิงถูกวันจริงๆ แพทย์ก็จะฉีดฮอร์โมนจากภายนอกเข้าไปช่วยกระตุ้นให้คุณผู้หญิงตกไข่ ทำให้สามารถระบุวันตกไข่ที่แน่นอนได้ วิธีนี้เหมาะกับคุณผู้หญิงที่มดลูกแห้ง หรืออาจไม่สามารถตกไข่ตามธรรมชาติได้เนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมน และเหมาะกับคุณผู้ชาย👨ที่ประสบปัญหาการมีอสุจิในปริมาณน้อยค่ะ

Gamete IntraFollopain Transfer (GIFT)

วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างแพร่หลายและอาจเคยผ่านหูผ่านตาคุณผู้อ่านมามากที่สุด ซึ่งก็คือการทำกิฟท์นั่นเอง แพทย์👩‍⚕️จะทำการเก็บตัวอสุจิจากคุณพ่อและไข่จากคุณแม่ จากนั้นจึงฉีดกลับเข้าไปที่ท่อนำไข่ของคุณแม่แบบยังไม่ผสม แต่จะรอให้เจ้าตัวอสุจิวิ่งเข้าไปผสมกับไข่ด้วยตนเอง วิธีนี้เหมาะสำหรับคุณผู้หญิง👩ที่มีภาวะความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก หรือมีพังผืดในช่องคลอด แต่คุณผู้หญิงต้องมีท่อนำไข่ที่พร้อมใช้งานปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และคุณผู้ชายต้องมีตัวอสุจิที่แข็งแรง หรืออย่างน้อยที่สุดต้องไม่อ่อนแอในระดับที่ทำงานหรือเคลื่อนที่ด้วยตนเองไม่ได้ค่ะ


เทคโนโลยีผสมเทียมในปัจจุบัน

Zygote IntraFollopain Transfer (ZIFT)

วิธีนี้มักถูกจดจำและถูกเข้าใจสลับกับการทำกิ๊ฟท์ เนื่องจากมีชื่อย่อที่คล้ายกัน อันที่จริงแล้ววิธีการทำก็คล้ายกันค่ะ แต่ต่างกันตรงที่แพทย์จะนำอสุจิของคุณผู้ชายและไข่🥚ของคุณผู้หญิง มาผสมกันภายนอกร่างกายของคุณผู้หญิงก่อน แล้วจึงฉีดกลับเข้าไปในท่อนำไข่ของคุณผู้หญิง ในขณะที่การทำกิ๊ฟท์ต้องผสมภายในร่างกายของคุณผู้หญิงเลย และเช่นเดียวกับการทำกิ๊ฟท์ คุณผู้หญิงต้องมีท่อนำไข่ที่ไม่ตันอย่างน้อย 1 ข้าง จะผิดปกติก็ได้แต่ต้องไม่อุดตัน และเหมาะกับคุณผู้ชายที่มีปัญหาตัวอสุจิมีปริมาณน้อยด้วยค่ะ👌

InVitro Fertilization and Embryo Transfer (IVF & ET)

คุณผู้อ่านอาจไม่คุ้นชินกับชื่อของวิธีนี้มากนัก แต่หากเรียกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว🧪แทนก็น่าจะคุ้นเคยกันใช่ไหมคะ วิธีนี้เริ่มต้นด้วยการที่แพทย์จะนำไข่ของคุณผู้หญิงตั้งแต่ 10-20 ใบ ออกมาผสมกับอสุจิของคุณผู้ชายในภาชนะทางการแพทย์ในห้องปฏิบัติการ🥼 แต่ยังคงเป็นการรอ และการปล่อยให้อสุจิวิ่งเข้าไปผสมกับไข่ด้วยตนเอง หากเกิดการปฏิสนธิได้สำเร็จก็จะสามารถยืนยันและทราบได้ทันทีค่ะ จากนั้นจึงฉีดตัวอ่อนหลังการปฎิสนธิกลับเข้าไปในมดลูกของคุณผู้หญิงค่ะ วิธีนี้จะเหมาะกับคุณผู้หญิงที่ท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้าง หรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานค่ะ และจะเหมาะกับคุณผู้ชายที่มีตัวอสุจิไม่แข็งแรงค่ะ


เทคโนโลยีผสมเทียมในปัจจุบัน

IntraCytoplasmic Sperm Injection (ICSI)

วิธีนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายพอๆกับวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว และมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นวิธีเดียวกับการทำเด็กหลอดแก้ว เพราะมีขั้นตอนที่คล้ายกันมากค่ะ การทำอิ๊คซี่เริ่มต้นจากแพทย์จะนำไข่🥚 ของคุณแม่มาผสมกับตัวอสุจิของคุณพ่อภายนอกร่างกายของคุณแม่เช่นเดียวกับการทำกิ๊ฟท์เลยค่ะ แต่สำหรับการทำอิ๊คซี่ แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กดูดเจ้าตัวอสุจิขึ้นมา 1 ตัว แล้วเจาะเข้าไปในไข่ เพื่อให้อสุจิผสมกับไข่ได้โดยตรง ไม่ได้ปล่อยให้วิ่งไปผสมเองแบบการทำกิ๊ฟท์ วิธีนี้เหมาะกับคุณผู้หญิงที่มีความผิดปกติของรังไข่หรือการตกไข่ และเหมาะกับคุณผู้ชายที่มีเจ้าตัวอสุจิไม่แข็งแรง ไม่สามารถวิ่ง🏃‍♀️เข้าไปผสมกับไข่ของคุณผู้หญิงด้วยตนเองได้ค่ะ

Blastocyst Culture

วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่คุณผู้อ่านไม่คุ้นเคยมากที่สุด เริ่มจากการที่แพทย์จะนำไข่ของคุณผู้หญิงและตัวอสุจิของคุณผู้ชายออกมาผสมกันภายนอกร่างกายของคุณผู้หญิง เมื่อผสมเสร็จจะยังไม่ฉีดกลับเข้าไปในร่างกายของคุณผู้หญิงโดยทันที แต่จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนภายในห้องปฎิบัติการ🥼 ก่อน จนรอให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตในระดับหนึ่ง (ใช้เวลาประมาณ 5 วัน) แล้วจึงฉีดกลับเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกของคุณแม่ค่ะ วิธีนี้จะเหมาะกับคุณผู้หญิงที่มีไข่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงค่ะ

         จบกันไปแล้วนะคะ สำหรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะช่วยให้คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยากสามารถมีบุตรได้ แน่นอนค่ะว่าวงการแพทย์และวงการวิจัยก็กำลังศึกษา พัฒนา และต่อยอดวิธีใหม่ๆ โดยอาศัยองค์ความรู้จากวิธีเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตเราจะมีทางเลือกที่หลากหลายมากกว่านี้อีกค่ะ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ท่านอาจกำลังประสบภาวะมีบุตรยาก แต่ก็อย่าหมดความหวังกันนะคะ