คุณผู้หญิงหลายๆท่านที่กำลังวางแผนจะมีเจ้าตัวน้อย👶 หรือที่กำลังตั้งครรภ์อยู่อาจมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์🤰 แต่คุณผู้หญิงอาจกำลังมองข้ามสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน นั่นก็คือปัจจัยทางด้านน้ำหนักตัว ก่อนอื่นเราไปทราบถึงความสำคัญของปัจจัยทางด้านน้ำหนักตัวว่าส่งผลต่อช่วงตั้งครรภ์ได้อย่างไรกันเลยค่ะ💁♀️
น้ำหนักตัวมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร ?
น้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างมีบุตรของคุณแม่ได้ค่ะ ในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และมีน้ำหนักตัวเกินช่วงมาตรฐาน คุณแม่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน ยกตัวอย่างเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือแม้กระทั่งไขมันอุดตันเส้นเลือด🩸 อาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และคลอดยากกว่าปกติค่ะ แต่ไม่ใช่เพียงกลุ่มคุณแม่ที่น้ำหนักเกินจะมีปัญหาเท่านั้น คุณแม่ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าช่วงมาตรฐานก็มีโอกาสพบกับปัญหานิ่วในถุงน้ำดี และโรคหัวใจขาดเลือดค่ะ
ควรมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่ในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์
✨ ใน 3 เดือนแรกน้ำหนักตัวของคุณแม่จะยังไม่เปลี่ยนแปลงจากปกติมาก ไม่ควรเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 2 กิโลกรัมค่ะ เพราะท้องของคุณแม่🤰จะยังไม่โตมาก เป็นช่วงที่คนอื่นๆมักดูไม่ค่อยออกว่าคุณแม่กำลังมีเจ้าตัวน้อย
✨ ในช่วง 4-6 เดือนต่อมา น้ำหนักของคุณแม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 4-5 กิโลกรัมเลยค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจนะคะ หากยังอยู่ในช่วงนี้ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่ จะเป็นช่วงที่คนอื่นๆสามารถสังเกตได้ว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ค่ะ
✨ ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของคุณแม่จะค่อยๆเพิ่มประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หากนับเป็นภาพรวม 3 เดือน คุณแม่สามารถมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ถึง 5-6 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะเป็นช่วงที่เจ้าตัวน้อยในครรภ์กำลังเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด
วิธีคุมน้ำหนักตอนท้อง
สิ่งสำคัญอันดับแรกที่คุณแม่ต้องใส่ใจไว้อยู่เสมอ คือ ห้ามอดอาหารเด็ดขาดค่ะ เพราะจะทำให้เจ้าตัวน้อยในครรภ์ขาดสารอาหารและเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือเจริญเติบโตผิดปกติ อาจทำให้มีภาวะพิการได้ค่ะ ในกรณีของคุณแม่ที่น้ำหนักตัวต่ำเกินไป ควรกินอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นค่ะ🍲 ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารโปรตีนสูง🍣 ไม่เน้นอาหารจำพวกแป้งมากนักแต่ก็ไม่ถึงกับอดไปเลย และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัว เช่น อาหารที่ส่วนผสมของน้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว🥥 น้ำมันปาล์ม ส่วนคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจใช้การออกกำลังกายเบาๆเข้ามาช่วยควบคุมน้ำหนักได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่คุณแม่หรือแม้กระทั่งคุณผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ไปปรึกษาเรื่องน้ำหนักกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨⚕️ ว่าน้ำหนักตัวของตนเองในปัจจุบันอยู่ในช่วงมาตรฐานหรือไม่ หากไม่ตนเองควรปรับอาหารการกินอย่างไร ควรออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นและความถี่ที่เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสุขภาพของร่างกายตนเองอย่างไร นอกจากจะได้คำแนะนำที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว หากแพทย์สังเกตถึงความผิดปกติของร่างกายจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที ส่งผลเสียต่อคุณผู้หญิงและเจ้าตัวน้อยในอนาคตอย่างเล็กน้อยที่สุดค่ะ