post-title

ภาวะมีบุตรยากในเพศชายเกิดจากอะไร?

      เนื่องจากการมีเจ้าตัวน้อยในแต่ละครั้ง ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวคุณพ่อและคุณแม่ ความร่วมมือในนี้ไม่ได้หมายถึงการเห็นด้วยที่จะมีเจ้าตัวน้อยร่วมกัน แต่รวมไปถึงความพร้อมของสุขภาพร่างกายด้วย และเนื่องจากการมีบุตรเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสุขภาพทางเพศที่ดีของทั้งสองฝ่าย คุณผู้อ่านหลายๆท่านอาจพบเจอได้กับภาวะความบกพร่องทางเพศของร่างกายฝ่ายหญิงมากกว่า ในบทความนี้จะพาคุณผู้อ่านมาทราบถึงภาวะเสี่ยงในร่างกายของคุณผู้ชายกันบ้างค่ะ เรามาเริ่มกันด้วยความหมายจริงๆของภาวะดังกล่าวกันเลยค่ะ


ภาวะมีบุตรยากในเพศชายคืออะไร

เป็นภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ แม้จะมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิดมาแล้วเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฝ่ายชาย (อาจลดช่วงเวลาเป็น 6 เดือนขึ้นไปในกรณีที่เป็นคู่สมรสที่มีอายุค่อนข้างมาก)

ภาวะมีบุตรยากในคุณผู้ชายเกิดขึ้นได้อย่างไร

🧬คุณผู้ชายอาจมีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ📉 ซึ่งส่งผลให้อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติจนไปถึงทำงานไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของตัวอสุจิในร่างกายของคุณผู้ชายค่ะ

🧬คุณผู้ชายมีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณท่ออสุจิ ซึ่งอาจเป็นภาวะโป่งพองหรือตีบตันของท่อนำอสุจิ ทำให้อสุจิไม่สามารถเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้เป็นปกติค่ะ

🧬เกิดความผิดปกติของระบบประสาท🧠 ไม่ว่าจากการที่ฮอร์โมนผิดปกติ หรือโรคแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ซึ่งทำให้ระบบประสาทบางส่วนเสียหาย ส่งผลให้คุณผู้ชายมีปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศและขาดอารมณ์ทางเพศค่ะ

🧬อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมของคุณผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของระบบภูมคุ้มกันที่ทำให้ร่างกายพยายามกำจัดตัวอสุจิของตนเอง ความผิดปกติของตับ โรคเม็ดเลือดกลายเป็นรูปเคียว โรคไต และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ


 โรคต่างๆดังกล่าวเกิดจากอะไรได้บ้าง

✨ผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์👩‍⚕️ เช่น การรับประทานยารักษาโรคและอาหารเสริมบางกลุ่ม การเข้าบำบัดการรักษามะเร็ง ไม่ว่าจะด้วยการทำเคมีบำบัด การผ่าตัด รวมไปถึงการฉายรังสี

✨การได้รับสารเคมีแปลกปลอม เช่น โลหะหนัก ซึ่งอาจปนเปื้อนมาจากอาหารและแหล่งเกษตรกรรม รวมถึงการได้รับสารเสพติดทั้งผิดกฎหมายและถูกกฎหมายในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง

✨การขาดสารอาหาร วิตามิน รวมไปถึงแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย💊 ยกตัวอย่างเช่น กรดโฟลิก วิตามินดี หรือธาตุเหล็ก

✨เคยได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น บริเวณลูกอัณฑะ

✨การใส่กางเกงชั้นในที่รัดเกินไป🩳 หรือมีความอับชื้น ไม่สะอาดและไม่ถูกสุขอนามัยทางเพศ

     จะเห็นแล้วนะคะว่า ในส่วนของร่างกายของคุณผู้ชายนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมีบุตรยากที่หลากหลายเช่นเดียวกับคุณผู้หญิง ดังนั้น หากคุณผู้ชายท่านใดพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยง หรือมีวิถีชีวิต ลักษณะการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาเป็นระยะเวลานานๆ หากวางแผนที่จะมีเจ้าตัวน้อยในอนาคต ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนค่ะ