post-title

ทำไมตั้งครรภ์เมื่ออายุมากถึงอันตราย?

      คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นไม่ได้เอื้ออำนวยให้คู่สมรสมีบุตรในช่วงวัยเจริญพันธุ์เท่าไหร่นัก แน่นอนค่ะว่าแม้จะเลยช่วงวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ในสมัยปัจจุบันก็สามารถช่วยให้คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายมีบุตรได้ แต่ก็จะมาพร้อมความเสี่ยงทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทั้งต่อตัวแม่และเด็กเอง โดยจะมีความเสี่ยงด้านใดบ้างนั้น เราไปดูกันเลยค่ะ


ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์

🧬แน่นอนว่าเงื่อนไขทางสุขภาพแรกที่คู่สมรสที่มีอายุมากต้องเจอ...

นั่นก็คือภาวะมีบุตรยากนั่นเองค่ะ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไข่ของคุณผู้หญิงก็จะมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ความสมบูรณ์ก็มีโอกาสจะน้อยลงเรื่อยๆเช่นเดียวกัน ไม่เฉพาะแค่ในคุณผู้หญิง แต่ตัวอสุจิของคุณผู้ชายก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับไข่ของคุณผู้หญิงค่ะ ซึ่งการเสื่อมสภาพของเซลล์สืบพันธุ์ก็ย่อมทำให้เกิดการปฏิสนธิได้ยากขึ้น หรือหากปฏิสนธิสำเร็จ ก็อาจมีปัญหาด้านความสามารถในการแบ่งตัวของตัวอ่อนในครรภ์ อาจเป็นการแบ่งตัวที่ไม่สมบูรณ์ นำไปสู่ภาวะครรภ์แฝดได้ค่ะ

🧬หลังการปฏิสนธิ ขั้นตอนต่อไปก็คือการฝังตัวของตัวอ่อนนั่นเองค่ะ

โดยปกติแล้วตัวอ่อนจะฝั่งตัวบริเวณผนังมดลูกในท้องของคุณแม่ แต่สำหรับคุณผู้หญิงที่มีอายุมาก จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะตัวอ่อนฝังตัวนอกมดลูกมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษหรือหนักที่สุดคือการแท้งบุตรค่ะ


ความเสี่ยงต่อคุณแม่ที่กำลังอุ้มท้อง

🤰คุณแม่ที่มีอายุมากและต้องตั้งครรภ์อาจมีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงค่ะ

🤰มีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของรกระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดคลอด และภาวะรกเกาะต่ำค่ะ


 ความเสี่ยงต่อคุณแม่ในวันคลอด

🤰คุณแม่มีโอกาสประสบกับภาวะคลอดติดขัด ซึ่งเป็นผลจากการบีบรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติหากทำการคลอดตามธรรมชาติค่ะ

🤰คุณแม่มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งทำให้ทารกที่คลอดออกมายังมีความสมบูรณ์ของอวัยวะในร่างกายไม่เต็มที่ หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์นั่นเองค่ะ ซึ่งส่งผลให้โอกาสในการรอดชีวิตของทารกน้อยลงค่ะ

🤰คุณแม่จะมีโอกาสแท้งบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์สูงขึ้นค่ะ นอกจากการเสียชีวิตของเจ้าตัวน้อยแล้ว คุณแม่เองยังมีโอกาสเสียชีวิตจากการคลอดเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยค่ะ


ความเสี่ยงต่อเจ้าตัวน้อยหลังคลอด

👶ส่วนใหญ่แล้ว เจ้าตัวน้อยที่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่ที่มีอายุมาก

มักประสบกับความพิการของร่างกายค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการที่มีอวัยวะไม่ครบจำนวนตามปกติ รวมไปถึงมีการทำงานของอวัยวะต่างๆที่ผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่หลักๆจะเป็นเรื่องของพันธุกรรมที่ผิดปกติค่ะ โดยที่คุณพ่อและคุณแม่อาจไม่จำเป็นต้องเป็นโรคทางพันธุกรรมเลยก็ได้ แต่การที่อายุมากขึ้น สารพันธุกรรมของคุณพ่อคุณแม่จะเสื่อมสภาพลง สุดท้ายจึงถ่ายทอดมายังตัวเด็กนั่นเองค่ะ

    อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านคงได้รับรู้ถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนหากต้องตั้งครรภ์ในช่วงอายุมากกันไปแล้วนะคะ ข้อมูลตรงนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่าคุณผู้อ่านไม่ควรมีลูกตอนอายุมาก แต่เป็นการแจ้งถึงความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้น เพื่อให้คุณผู้อ่านมีโอกาสเตรียมตัวรับมือและแก้ปัญหาหากเกิดขึ้นจริงได้อย่างดีที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณผู้อ่านเองและเจ้าตัวน้อยในอนาคตค่ะ