รูท่อปัสสาวะเปิดต่ำกว่าปกติ หรือภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) เป็นความผิดรูปแต่กำเนิดของทารกเพศชาย👦 ที่ท่อปัสสาวะถูกพัฒนาไม่เต็มที่ เนื่องจากฮอร์โมนและกระบวนการสร้างท่อปัสสาวะนั้นบกพร่อง ทำให้รูเปิดของท่อปัสสาวะไม่อยู่ที่ปลายองคชาตตามปกติ ( abnormal urethal opening) ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา เช่น องคชาตโค้งงอ🍌 (penile curvature) เป็นต้น วันนี้ทางเราได้รวบรวมข้อมูลและแนวทางการรักษาหากภาวะนี้เกิดขึ้นกับลูกชายของคุณแม่
ทำความรู้จักกับสาเหตุของภาวะไฮโปสปาเดีย
สืบทอดจากกรรมพันธุ์
หากสมาชิกในครอบครัว👪 มีประวัติการเป็นภาวะไฮโปสปาเดียมาก่อนนั้น ทารกมีแนวโน้มเสี่ยงอย่างมากที่จะสืบทอดโรคนี้ทางพันธุกรรม
ความผิดปกติของฮอร์โมน
สาเหตุของภาวะไฮโปสปาเดียสามารถเกิดจากการที่คุณแม่รับประทานฮอร์โมน💊บางชนิด โดยเฉพาะฮอร์โมนบำรุงครรภ์ ซึ่งมีผลต่อการที่ทารกจะเข้าข่ายมีปัญหารูท่อปัสสาวะเปิดต่ำกว่าปกติ
คุณแม่ท้องตอนอายุเยอะ
หากคุณแม่ตั้งครรภ์🤰ในช่วงที่มีอายุเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเป็นไปได้สูงที่ทารกนั้นเป็นภาวะไฮโปสปาเดีย
อาการเบื้องต้นของภาวะไฮโปสปาเดีย
องคชาตมีลักษณะโค้งงอ
ทารกชายที่เป็นภาวะไฮโปสปาเดียนั้นจะมีลักษณะอวัยวะเพศชายที่โค้งลงอย่างชัดเจน🍌 และจะสามารถสังเกตได้ชัดเจนขึ้นในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัว (Erection)
ตำแหน่งของรูท่อปัสสาวะไม่เป็นปกติ
คุณหมอ👨⚕️จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ทารกเกิด ซึ่งทารกจะมีรูท่อปัสสาวะที่ไม่ได้อยู่บริเวณปลายองคชาต แต่จะอยู่ในบริเวณที่ต่ำลงมากว่าปกติแทน 🔽
ระบบการควบคุมการไหลปัสสาวะผิดปกติ
ทารกจะมีทิศทางการไหลของปัสสาวะที่ผิดปกติจากทารกชายทั่วไป เนื่องมาจากการที่ทารกนั้นมีตำแหน่งของรูท่อปัสสาวะที่อยู่ต่ำลงมาจากตำแหน่งปกติ
แนวทางในการรักษาภาวะไฮโปสปาเดีย
ลดความเสี่ยงของภาวะไฮโปสปาเดีย
ภาวะไฮโปสปาเดียนั้นไม่สามารถป้องกันได้🙅♂️ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วย การลดการดื่มแอลกอฮอล์🥃 ลดการสูบบุหรี่ 🚬 และปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์
รักษาด้วยการผ่าตัด
ทารกสามารถรับการผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 3 ปีเป็นต้นไป ซึ่งควรได้รับการตรวจสุขภาพ🩺ก่อนทำการผ่าตัด รวมถึงรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ยา💊 และเพื่อความปลอดภัยต่อทารก
สรุปง่ายๆ คือภาวะไฮโปสปาเดียนั้นมีสาเหตุหลักมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม🧬จากรุ่นสู่รุ่น และรวมไปถึงการที่ฮอร์โมนของคุณแม่ผิดนั้นปกติ โรคนี้คุณแม่สามารถพาลูกชายไปรักษาได้ด้วยการผ่าตัด หรือรักษาวิธีอื่นๆ ตามแพทย์แนะนำและเห็นว่าเหมาะสมนะคะ