post-title

เชื้อ Group B Strep (GBS) อันตรายต่อทารกในครรภ์ไหม?

     เชื้อ Group B Streptococcus (GBS) หรือเรียกอีกชื่อว่า Streptococcus agalactiae ถือเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีความอันตรายต่อทารก👶 คุณแม่ตั้งครรภ์ 10 - 30% มีเชื้อนี้อาศัยอยู่ในลำไส้ ช่องคลอดและทวารหนัก ซึ่งปกติแล้วไม่เป็นอันตรายในช่วงที่ร่างกายแข็งแรง แต่สำหรับในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์นั้น  เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถส่งผ่านไปถึงลูกในครรภ์ได้ในช่วงทำคลอด ทางเราได้รวบรวมข้อมูลที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเรื่องการตรวจเชื้อ GBS และผลกระทบของการติดเชื้อที่มีผลต่อสุขภาพทารกมาให้ฟังค่ะ


ลักษณะอาการของผู้ที่ติดเชื้อ GBS

การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ

ในกรณีของคนทั่วไปที่ติดเชื้อ GBS นั้นมักจะไม่แสดงอาการออกมา เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังแข็งแรง💪

การติดเชื้อที่แสดงอาการ

ในกรณีคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อ GBS นั้นจะแสดงอาการออกมาในรูปแบบของ การมีไข้ 🤒 ปวดเมื่อยร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ซึ่ง คุณแม่ที่มีอาการดังกล่าวควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลามไปสู่ลูก


ระยะของการติดเชื้อ GBS ในทารกแรกเกิด

ระยะที่ 1 : Early-onset GBS 

สำหรับระยะแรกจะแสดงอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด จนถึง 6 วันแรกหลังการเกิด โรคที่พบได้คือ ปอดอักเสบติดเชื้อ 🫁  เยื่อหุ้มสมองอักเสบและการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการในทารกมักจะไม่เฉพาะเจาะจง

ระยะที่ 2 :  Late-onset GBS

สำหรับในระยะที่ 2 แสดงอาการภายใน 4-5 สัปดาห์หลังคลอด โรคที่พบได้บ่อยในระยะนี้ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ🧠 และการติดเชื้อเฉพาะที่

ระยะที่ 3 : Late, late-onset GBS 

ในระยะที่ 3 นี้จะเกิดในทารกที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน และมักจะเกิดขึ้นกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด 🚼 (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์) และรวมไปถึงในกรณีที่เด็กมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง


วิธีป้องกันไม่ให้ทารกติดเชื้อ GBS

ใช้วิธีการตรวจประจำก่อนกำหนดคลอด

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 35 -37 สัปดาห์ ควรทำการทดสอบว่ามีการติดเชื้อ GBS หรือไม่ โดยใช้วิธีการตรวจง่ายๆที่สามารถทำได้ที่บ้าน หรือสามารถให้ผดุงแพทย์เก็บตัวอย่างจากการตรวจแล้วนำไปวินิจฉัย🔬ให้คุณแม่รอฟังผลตรวจ

ใช้วิธีรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

หากคุณแม่ตรวจพบเชื้อ GBS ในระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการเจ็บท้องคลอดก่อน 37 สัปดาห์ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส และมีร่องรอยการติดเชื้ออยู่รอบตัวทารก คุณแม่จะต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะ💉เข้าทางเส้นเลือดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ GBS สู่ทารกในครรภ์

     เชื้อ GBS จัดว่าเป็นภัยเงียบสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์🤰 ถึงแม้ว่าในประเทศไทยนั้นจะยังไม่มีมาตรฐานของการคัดกรองเชื้อ GBS ในโรงพยาบาลทั่วไป ทางเราแนะนำให้คุณแม่ตรวจหาเชื้อด้วยตัวเอง โดยการซื้อชุดตรวจ GBS ที่ใช้เทคโนโลยี Multiplex PCR (วิธีหนึ่งของ NAAT) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจหาเชื้อ หากพบความผิดปกติเบื้องต้น คุณแม่สามารถเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อสู่ทารก