post-title

ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ เสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อยอย่างไร?

     ตั้งแต่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตน้อยๆ อยู่ในท้องของคุณแม่🤰 คุณแม่ก็เริ่มที่จะบำรุงครรภ์โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์🍲ต่างๆ เพื่อที่จะให้ลูกน้อยคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง แต่หากคุณแม่บำรุงมากเกินไปหรือบำรุงผิดวิธีก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา “ลูกในครรภ์ตัวใหญ่ ”🚼 ซึ่งการที่ลูกน้อยมีน้ำหนักมากหรือตัวใหญ่เกินอาจส่งผลเสียและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยค่ะ วันนี้ทางเราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักเกินและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมาให้คุณแม่รับทราบค่ะ 


ภาวะลูกตัวใหญ่กว่าเกณฑ์อายุครรภ์มีกี่แบบ?

👉🏻ภาวะทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวมาก (Large for Gestational Age : LGA) 

คือการเจริญเติบโตมากเกินไปส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวมาก ซึ่งมากกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ของแต่ละช่วงครรภ์

👉🏻ภาวะทารกตัวโต ( Macrosomia ) 

คือทารกในครรภ์ที่มีขนาดตัวใหญ่🚼 มีน้ำหนักมากกว่าเกือบ 90% ของทารกที่เกิดในอายุครรภ์เท่าๆ กัน โดยเฉลี่ยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะน้ำหนักอยู่ประมาณ 2,500-4,000 กรัม หากทารกคลอดออกมาแล้วมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ถือว่าเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ตัวใหญ่


ปัจจัยที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักเกินหรือตัวใหญ่

คุณแม่เป็นเบาหวาน

หากคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถส่งต่อน้ำตาลไปยังทารกที่กำลังเติบโตอยู่ในครรภ์ได้ จะทำให้ทารกสร้างอินซูลินและน้ำตาลส่วนเกิน ทำให้ทารกเติบโตเร็วขึ้นและมีไขมันสะสมจำนวนมาก ทั้งนี้ปัจจัยด้านอาหาร🍛ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของทารกในครรภ์ด้วย ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของลูกน้อยไม่ใช่เพียงปริมาณที่คุณแม่รับประทานแต่ยังรวมไปถึงคุณภาพของอาหาร ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อปัญหาสุขภาพของลูกในอนาคต

อายุของคุณแม่ตอนตั้งครรภ์

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์🤰ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป🆙 มักมีโอกาสมากที่ทารกจะตัวใหญ่ ส่วนคุณแม่ที่ตั้งช่วงอายุยังน้อยทารกจะมีน้ำหนักน้อยหรือคลอดออกมาตามเกณฑ์น้ำหนักปกติ

น้ำหนักของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์

หากก่อนตั้งครรภ์คุณแม่เป็นคนที่มีน้ำหนักมาก⚖️อยู่แล้วมักมีความเสี่ยงที่ลูกจะออกมาน้ำหนักตัวมากหรือตัวใหญ่

คุณแม่มีมีโรคประจำตัว

คุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ 🫀โรคโลหิตจาง และโรคเบาหวาน มาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ได้เช่นกัน

พันธุกรรมจากคุณพ่อหรือคุณแม่

ยีนส์🧬ของครอบครัวก็สามารถส่งผลต่อขนาดตัวและน้ำหนักของลูกในครรภ์ได้เช่นกัน รวมไปถึงอาจเป็นเพราะทารกอยู่ในครรภ์นานเกินไปหรือหากป็นทารกเพศชาย👦ก็จะมีขนาดตัวใหญ่มากกว่าทารกเพศหญิงนั่นเองค่ะ


ทารกตัวใหญ่มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนอย่างไร?

คุณแม่เสี่ยงภาวะคลอดยาก

การที่ทารกมีน้ำขนาดตัวใหญ่กว่าปกติจะทำให้คุณแม่มีน้ำตาลในเลือดต่ำในขณะคลอดและยังเสี่ยง📈เป็นภาวะคลอดยาก ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกน้อย

ทารกมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

 ทารกที่คลอดออกมาตัวใหญ่ มีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด😮‍💨 และเสี่ยงจะเสียชีวิตในครรภ์สูงกว่าปกติถึง 3-8 เท่า

ทารกเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ทารกที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติมีโอกาสที่ลูกจะเป็นเบาหวานมากกว่าเด็กปกติทั่วไป หรือพิการตั้งแต่กำเนิด🧑‍🦼

ทารกเสี่ยงเป็นโรคดีซ่าน

ทารกแรกเกิดที่มีขนาดตัวใหญ่ มักจะมีเม็ดเลือดแดง🩸มากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคดีซ่าน (Jaundice) ได้ในขณะคลอด 

     คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำหนักตัวของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามการที่ลูกคลอดออกมาตัวใหญ่ไม่ได้หมายความว่าเด็กต้องมีสุขภาพไม่ดีเสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ รวมไปถึงการเข้าพบแพทย์👨‍⚕️🩺เพื่อตรวจความผิดปกติและเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ พร้อมทั้งรับคำแนะนำในการดูแลครรภ์🤰อย่างถูกวิธีค่ะ