post-title

คุณแม่ท้องเล็ก ลูกตัวเล็กด้วยไหม?

     สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์🤰 ประเด็นหนึ่งที่อาจเป็นที่กังวลของคุณแม่บางท่าน นั่นก็คือการที่ตนเองมีขนาดท้องที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ท่านอื่นใช่ไหมคะ แต่จำเป็นไหมว่าการที่ท้องเรามีขนาดเล็กจะทำให้ทารกในครรภ์ตัวเล็กตาม หรือมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์เสมอไป และจริงๆแล้วขนาดท้องที่เราคิดว่าเล็กนั้นเล็กจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงอุปทานที่เกิดขึ้นหลังจากพบเจอคุณแม่ที่มีขนาดท้องใหญ่กว่า บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ💁‍♀️


วิธีการตรวจสอบว่าลูกในครรภ์ตัวเล็กตามขนาดท้องหรือไม่

☑️ตรวจร่างกายโดยทำการวัดระยะห่างระหว่างมดลูกกับกระดูกบริเวณหัวหน่าว หากมีระยะห่างที่เพิ่มขึ้นก็สามารถบ่งบอกได้ว่าทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น👶เช่นเดียวกัน

☑️แพทย์อาจใช้วิธีอัลตราซาวด์🩻เข้ามาช่วยวินิจฉัย ซึ่งจะทำให้ประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้ วิธีนี้นับเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดเลยค่ะ👍

☑️ติดตามพัฒนาการทางด้านน้ำหนักตัวของคุณแม่เอง ปกติแล้วคุณแม่จะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการตั้งครรภ์🤰 หากติดตามน้ำหนักตัวแล้วคุณแม่ยังมีน้ำหนักเท่าเดิมหรือลดลง ก็อาจมีความน่าสงสัยว่าทารกในครรภ์อาจตัวเล็กหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการพัฒนาระบบอวัยวะได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังไม่ใช่วิธีที่น่าเชื่อถือเทียบเท่ากับการทำอัลตราซาวด์ แต่ก็เป็นวิธีที่ทำได้ค่อนข้างง่าย และคุณแม่สามารถลองทำเองได้ในเบื้องต้นก่อนที่จะไปพบแพทย์ค่ะ

ทำไมคุณแม่ถึงมีท้องที่เล็กกว่าปกติ

🤰ในคุณแม่ที่ตัวเล็กหรือมีขนาดร่างกายก่อนตั้งครรภ์ที่เล็กอยู่แล้ว เมื่อตั้งครรภ์ในช่วงระยะแรกๆท้องของคุณแม่ก็จะเล็กเป็นปกติค่ะ

🤰สำหรับคุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น👧 จะส่งผลให้เด็กในครรภ์มีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าคุณแม่ในวัยเจริญพันธุ์ ทำให้ท้องของคุณแม่มีขนาดเล็กค่ะ

🤰จะเป็นปกติที่ท้องของคุณแม่ท้องแรกจะมีขนาดเล็ก เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องของคุณแม่นั้นยังไม่เคยผ่านการขยายมาก่อนเป็นระยะเวลานานๆค่ะ แต่เมื่อผ่านช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไป ท้องก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเองค่ะ

🤰สำหรับคุณแม่ที่มีกิจวัตรประจำวันที่รักสุขภาพ เล่นกีฬาหรืออกกำลังกายเป็นประจำ🏋️‍♀️ จะมีกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องที่แข็งแรงกว่าปกติ และช่วงแรกระหว่างการตั้งครรภ์นั้นท้องจะยังไม่โตมาก ทำให้ดูเผินๆเหมือนแม่มีขนาดหน้าท้องที่เล็กค่ะ

หากตรวจร่างกายแล้วลูกตัวเล็กจริงๆ มาจากสาเหตุใด

👉คุณแม่อาจกำลังประสบกับภาวะขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต🍚 โปรตีน🐟 และไขมัน รวมไปถึงกลุ่มที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ แร่ธาตุและวิตามิน

👉คุณแม่อาจกำลังประสบกับภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ🫀 ไรคไต เลือดจาง โรคทางพันธุกรรม🧬หรือโรคติดต่อทางเพศชนิดต่างๆ อาจกำลังติดเชื้อก่อโรค🦠 จนไปถึงอาการครรภ์เป็นพิษค่ะ

👉อาจเป็นเพราะพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเสพสารเสพติด🚬ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายค่ะ

👉คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แฝด👯‍♂️ก็มีโอกาสที่ทารกในครรภ์จะตัวเล็กเช่นเดียวกัน เพราะต้องเบียดกันอยู่ภายในท้องของคุณแม่ค่ะ


ทำอย่างไรหากพบว่าลูกในครรภ์ตัวเล็ก

รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

✨หากพบว่าทารกในครรภ์ตัวเล็กเพราะคุณแม่เองมีโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่เข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👩‍⚕️และปฏิบัติตามคำแนะนำหรือข้อกำหนดจากแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการรักษาและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ จะได้ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์น้อยที่สุดค่ะ

✨สำหรับคุณแม่ที่เจ้าน้อยมีขนาดตัวที่เล็กเพราะคุณแม่กำลังประสบกับภาวะขาดสารอาหาร🥦 คุณแม่สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักโภชนาการ เพราะอาจต้องอาศัยการวางแผนการรับประทานอาหาร🍽️ การปรับสารอาหารและพลังงานที่ได้รับเข้าไปในแต่ละวัน จนไปถึงการรับประทานอาหารเสริม💊เข้าช่วยค่ะ

✨คุณแม่ที่มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด🚬 ควรลดละเลิกโดยทันทีค่ะ ในที่นี้รวมไปถึงสารที่ไม่ได้ถูกบัญญัติว่าเป็นสารเสพติดแต่สามารถทำให้ผู้รับมีอาการเสพติดได้ เช่นคาเฟอีน☕️ในอาหารค่ะ

✨คุณแม่ควรมีการพักผ่อนที่เพียงพอค่ะ การพักผ่อนในที่นี้ไม่ใช่เพียงการทำกิจกรรมที่ทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังรวมถึงการพักผ่อนที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ซึ่งก็คือการนอนหลับ😴นั่นเองค่ะ การนอนหลับของคุณแม่ควรมีเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่ที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน และในตอนกลางวันคุณแม่สามารถงีบหลับ💤ร่วมด้วยได้ค่ะ

     คุณผู้อ่านจะเห็นแล้วนะคะ ว่าการที่คุณแม่มีขนาดหน้าท้องที่เล็กกว่าคุณแม่ท่านอื่นๆนั้นมาจากหลายสาเหตุมาก และไม่จำเป็นว่า ขนาดหน้าท้องที่เล็กจะบ่งบอกว่าทารกในครรภ์ตัวเล็กเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยการตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️เข้าช่วย หากพบว่าเจ้าตัวน้อย👶นั้นมีขนาดตัวที่เล็กตามขนาดท้องของคุณแม่จริงๆ จะได้ทำการรักษาภาวะแทรกซ้อนหรือปรับสารอาหาร🥦ที่ได้รับอย่างทันท่วงที เพื่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายของทารกในครรภ์รวมไปถึงร่างกายของคุณแม่เองให้มากที่สุดค่ะ