post-title

ทารกคว่ำตัวเองได้ตอนกี่เดือน

     หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่พึ่งมีเจ้าตัวน้อยแรกคลอด👶คือพัฒนาการการเคลื่อนไหวของลูกใช่ไหมคะ สำหรับการเคลื่อนไหวในขั้นตอนแรกก็คงไม่พ้นการที่ลูกสามารถพลิกตัวคว่ำได้ด้วยตนเอง แต่โดยปกติแล้วเจ้าตัวน้อยจะสามารถพลิกตัวได้ตอนอายุเท่าไหร่ ถ้าไม่สามารถพลิกตัวได้เองแต่ต้องให้คุณพ่อคุณพ่อคุณแม่ช่วย👫 แบบนี้ปกติหรือไม่ ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการฝึกอย่างไรให้ลูกสามารถพลิกตัวคว่ำได้ เราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ💁‍♀️


เจ้าตัวน้อยจะสามารถคว่ำได้ด้วยตนเองตอนไหน

แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ก็ต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกายค่ะ โดยปกติแล้วกล้ามเนื้อของเด็ก👶ที่มีอายุประมาณหกเดือนขึ้นไปจะมีการพัฒนาในระดับที่สามารถพลิกตัวคว่ำและหงายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ และจะมีพฤติกรรมการพลิกตัวเกิดขึ้นบ่อยเป็นธรรมชาติ แต่ในทารกที่มีอายุต่ำกว่านั้น เจ้าตัวน้อยก็สามารถเรียนรู้ที่จะพลิกคว่ำพลิกหงายได้เช่นเดียวกันแต่อาจยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ปกครองอยู่ เนื่องจากกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อแกนกลางของเด็กยังไม่พัฒนาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากเพียงพอค่ะ

✨ทำไมควรฝึกให้เด็กนอนคว่ำ

การฝึกให้เจ้าตัวน้อยค่อยๆหัดพลิกตัวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพลิกคว่ำหรือพลิกหงายจะเป็นการช่วยเสริมสร้างและพัฒนาระบบกล้ามเนื้อของเด็กค่ะ โดยกล้ามเนื้อที่จะได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษก็จะมีในกลุ่มต่อไปนี้ กล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณลำคอ แขน💪 และไหล่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกล้ามเนื้อบริเวณท้องซึ่งจัดเป็นกล้ามเนื้อแกนกลางของลำตัวด้วยค่ะ ประโยชน์ของการที่กล้ามเนื้อมัดเหล่านี้พัฒนาได้เร็ว ก็คือเด็กจะมีพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหวได้รวดเร็วตาม เริ่มตั้งแต่การคลาน🚼 การตั้งไข่ และการเดินอย่างมั่นคงเลยค่ะ


ฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้อย่างไร

👉เตรียมพื้นที่ให้เด็กหัดพลิกคว่ำ 

ต้องเป็นพื้นที่โล่งๆเรียบๆและสะอาด อาจใช้ผ้าปูหรือฟูกนุ่มๆ🧽ปูรองไว้ แต่หากเด็กไม่ชอบนอนคว่ำบนพื้นราบ คุณพ่อคุณแม่อาจแก้ปัญหาโดยการให้เจ้าตัวน้อยนอนคว่ำบนร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ได้ เช่นการให้เด็กหัดนอนคว่ำบนหน้าอกของตนเอง ในช่วงเริ่มแรกควรใช้เวลาให้เด็กคว่ำไม่มากนัก ประมาณ 1-2 นาทีกำลังเหมาะสม และทุกครั้งที่ให้ลูกนอนคว่ำ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมลูกและคอยดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

👉ใช้จังหวะเปลี่ยนผ้าอ้อมฝึกให้เด็กหัดนอนคว่ำ

แทนที่จะยกตัวเด็กขึ้นระหว่างสอดผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีจับเด็กนอนคว่ำบริเวณตักแล้วจึงเปลี่ยนผ้าอ้อมแทนค่ะ หากเด็กไม่ชอบการนอนคว่ำ อาจแสดงพฤติกรรมต่อต้านโดยการ  ร้องไห้งอแง😭ขึ้นมา ให้เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการใช้ของเล่น🚂มาวางใกล้ๆตัวเด็ก 

👉เล่นเหมือนม้ากระดก

คุณพ่อคุณแม่อาจเล่นกับลูกในลักษณะเหมือนม้ากระดก🐴 เพื่อให้เด็กเคยชินกับมุมมองใหม่ระหว่างคว่ำตัวและเคยชินไปเองค่ะ

👉ทำให้ลูกสนุกกับการคว่ำตัว

หากเจ้าตัวน้อยเริ่มเคยชินหรือสนุก🥳กับการพลิกคว่ำ ให้ค่อยๆเพิ่มเวลาที่เด็กจะพลิกคว่ำให้นานขึ้น จากตอนเริ่มต้นที่ใช้เวลาต่อครั้งเพียง 1-2 นาที ก็อาจเพิ่มเวลามาเป็น 10-15 นาทีจนไปถึง 1 ชั่วโมงเลยก็ได้ค่ะ

👉การนอนคว่ำใช้สังเกตพัฒนาการของเด็กได้ด้วยนะ

หากเจ้าตัวน้อยมีอายุมากกว่า 6-7 เดือนแล้วยังไม่สามารถพลิกคว่ำพลิกหงายได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงยังไม่สามารถชันคอขึ้นหรือดันตัวให้สูงจากพื้นได้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่มีพัฒนาการที่ล้าช้า มีความเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุจากการพัฒนาที่ล่าช้าของระบบกล้ามเนื้อหรืออาจมาจากเหตุผลอื่นๆ ทั้งนี้เป็นประเด็นที่ต้องการคำวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️ค่ะ

     อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านคงจะเห็นแล้วนะคะ ว่าเพียงแค่พฤติกรรมการนอนคว่ำ พลิกคว่ำพลิกหงายของเจ้าตัวน้อย ก็สามารถใช้สังเกตและวัดระดับพัฒนาการของพวกเขาได้แล้ว ดังนั้นผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตทั้งพฤติกรรมและอาการผิดปกติของลูกน้อย👶 หากเข้าข่ายว่าจะมีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับการพัฒนาของร่างกาย ควรพาเจ้าตัวน้อยเข้ารับการตรวจร่างกายและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ🩺👨‍⚕️ทันที ไม่เช่นนั้นเด็กอาจมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกันได้ค่ะ