post-title

ศีรษะทารกแรกเกิดบวมโน อันตรายไหม?

     คงเป็นที่น่าตกใจและน่ากังวลใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่👫อยู่ไม่น้อย หากพบว่าเมื่อคลอดเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้าตัวน้อยของเรามีศีรษะที่บวมโนหรือไม่เป็นรูปเป็นร่าง🤕 ภาวะนี้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างเป็นปกติหรือไม่ ในอนาคตจะกลับมาเป็นรูปร่างปกติหรือเปล่า หากศีรษะเป็นแบบนี้จะเป็นอันตรายไหม บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ💁‍♀️


อาการศีรษะบวมที่เป็นปกติหลังคลอด

สิ่งที่เราต้องทราบเป็นอันดับแรก คือ ช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์🚼ของคุณแม่จนถึงช่วงอายุประมาณหนึ่งขวบครึ่ง กะโหลกศีรษะของทารกจะยังไม่ปิดสนิท นั่นหมายถึงศีรษะจะมีความอ่อนนุ่ม และเนื่องจากศีรษะเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่นๆในระหว่างที่อยู่ในครรภ์ การบีบรัดจากช่องคลอดในระหว่างคลอดก็มีส่วนทำให้รูปร่างศีรษะของเจ้าตัวน้อย👶นั้นบิดเบี้ยวไปได้เล็กน้อยค่ะ และอาการจะค่อยๆหายไปเอง แต่กระดูกกะโหลกนั้นจะสามารถปิดเชื่อมตัวกันได้อย่างสมบูรณ์เมื่อทารกมีอายุประมาณหนึ่งปีกับอีก 6 เดือนขึ้นไปค่ะ

จุดเปราะบางบนกะโหลกทารกแรกเกิด

ในช่วงก่อนหน้าเราได้พูดถึงการที่กระดูกกะโหลกของทารกยังไม่พัฒนามากพอที่จะปิดหรือผสานกันอย่างสมบูรณ์ ทำให้ศีรษะของทารกนั้นมีความยืดหยุ่น คำถามคือแล้วบริเวณไหนบ้างที่จะมีความยืดหยุ่นเกิดขึ้น ซึ่งก็นับเป็นบริเวณที่คุณแม่ควรใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษเพราะเป็นจุดที่ค่อนข้างบาง หากเกิดการกระทบกระเทือนก็มีโอกาสสูงที่จะส่งผลเสียต่อการพัฒนาสมอง🧠ของเด็กค่ะ จะมีตรงไหนบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ

👉กระดูกกะโหลกบริเวณกระหม่อมข้างหน้า 2 จุด

👉กระดูกกะโหลกบริเวณกระหม่อมหลัง 1 จุด

👉บริเวณด้านข้างของกระหม่อมค่อนไปทางด้านหลัง 2 จุด

👉บริเวณกระหม่อมกกหู 2 จุด


อาการศีรษะบวมที่ผิดปกติหลังคลอด

เกิดได้จากหลายสาเหตุ

💫ภาวะศีรษะบวมจากการที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด บริเวณศีรษะของเด็กจะถูกกดทับกับขอบมดลูกที่ยังไม่เปิดหรือเปิดไม่หมดของคุณแม่ ทำให้เลือด🩸ไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหนังหุ้มศรีษะบริเวณนั้นได้สะดวกมากนัก เมื่อคลอดออกมาศีรษะทารกจึงมีลักษณะบวม โดยทั่วไปแล้วอาการนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา🙅‍♀️ เพราะจะสามารถหายไปได้เองในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 วันค่ะ

💫ภาวะเลือดออกบริเวณเยื่อหุ้มใต้กะโหลกศีรษะของทารก เลือดจะค่อยๆซึมออกและมาคั่งอยู่บริเวณชั้นใดชั้นหนึ่งของกะโหลกศีรษะ💀 หลังคลอดออกมาอาจพบว่าทารกตัวซีด🥶 แต่โดยทั่วไปแล้วภาวะนี้จะค่อยๆบรรเทาและหายเองภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือนค่ะ

💫ภาวะเลือดคั่งใต้ช่องว่างเนื้อเยื่อพังผืดกะโหลกกับเยื่อหุ้มกะโหลก มีขอบเขตบริเวณเริ่มตั้งแต่เบ้าตา👁️ลามไปยังท้ายทอย และบริเวณด้านข้างหู👂ข้างหนึ่งลามไปถึงหูอีกข้าง ทำให้เกิดก้อนเนื้อที่มีลักษณะบวมโต นับเป็นภาวะที่อันตรายเพราะทำให้ทารกเกิดภาวะช็อค🫨ตามมาจากการเสียเลือดได้

💫ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง🩸🧠 เกิดจากการที่หลอดเลือดภายในเนื้อสมองเองเกิดการแตก จนทำให้มีอาการผิดปกติของสมองบริเวณนั้นเกิดขึ้นตามมา

     อ่านมาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านคงทราบกันไปเรียบร้อยแล้วนะคะ ว่าอาการหัวเบี้ยวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นปกติ แต่ก็มีบางรูปแบบที่ไม่ปกติเช่นเดียวกัน หากคุณผู้อ่านสังเกตว่าเจ้าตัวน้อย👶มีลักษณะรูปร่างของศีรษะที่เบี้ยวหรือผิดปกตินานกว่า 3 เดือนแล้วยังไม่หาย หรือยังไม่มีทีท่าจะกลับมาปกติ แนะนำว่าคุณผู้อ่านควรรีบพาเจ้าตัวน้อยเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️ทันทีค่ะ เพราะอาจเป็นอาการศีรษะเบี้ยวที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือช่วงคลอด แพทย์อาจต้องใช้การรักษาเพิ่มเติมเพราะเด็กไม่สามารถหายจากภาวะเหล่านี้เองได้ค่ะ