post-title

วิธีปั๊มนมให้ถูกต้อง

     ความฝันและความปรารถนาของคุณแม่แทบทุกคนหลักจากคลอดเจ้าตัวน้อย คงเป็นการให้เจ้าตัวน้อยได้รับน้ำนมแม่🤱ได้ในปริมาณมาก ยาวนานและมีคุณภาพที่สุด เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาของร่างกาย บทความของเราจะพาคุณแม่มือใหม่มาดูว่าควรปั๊มนมอย่างไรให้ถูกวิธี จำเป็นต้องปั๊มใหม่ทุกครั้งที่จะให้นมลูกหรือไม่ สามารถปั๊มแล้วเก็บรักษาได้หรือไม่ หากอยากเก็บรักษาแล้วยังมีคุณภาพเหมือนเดิมมีวิธีการอย่างไร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ💁‍♀️


เหตุผลที่ควรปั๊มนม

การปั๊มนมดีต่อคุณแม่เนื่องจาก

👉ช่วยให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น มีปริมาณน้ำนม🍼ที่มากขึ้น

👉ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการคัดเต้านมของคุณแม่ อย่างไรก็ตามหากเจ็บจนปั๊มไม่ไหวก็ไม่ควรฝืนปั๊มต่อ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

👉ช่วยเก็บสำรองน้ำนมแม่ อำนวยความสะดวกในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมจากเต้าโดยตรงได้ หรืออำนวยความสะดวกในกรณีที่คุณแม่มีช่วงไม่สามรถให้นมได้ เนื่องจากมีการใช้ยา💊หรือการรักษาที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนในน้ำนมของแม่

ขั้นตอนในการปั๊มนมจากเต้า

สิ่งสำคัญอันดับแรกในการปั๊มนมก็คือการรักษาความสะอาดไม่ว่าจากร่างกายของคุณแม่เอง อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุนม🍼 และบริเวณที่จะทำการปั๊มน้ำนม คุณแม่ต้องล้างมือ🤲และล้างอุปกรณ์เหล่านี้ให้สะอาดค่ะ

1️⃣วางนิ้วโป้ง👍และนิ้วชี้👆เข้าหากันให้มีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) จากนั้นจึงวางไว้บนเต้านมข้างที่ต้องการจะปั๊ม ให้นิ้วโป้งอยู่ห่างจากฐานหัวนมข้างที่จะปั๊มประมาณ 3-4 เซนติเมตร และนิ้วชี้ก็ห่างในระยะที่เท่ากัน ให้ปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้อยู่ในระนาบเดียวกันเป็นท่าเตรียมปั๊ม

2️⃣ทำการบีบน้ำนม 3 จังหวะ ในจังหวะแรกให้คุณแม่กดนิ้วทั้งสองเข้าไปทางกระดูกอกหรือกดเข้าหาตัวคุณแม่นั่นเอง ต่อมาให้บีบนิ้วโป้งและนิ้วชี้บริเวณฐานหัวนมเข้าหากัน ในช่วงนี้ควรจะมีน้ำนมไหลออกมา💦 ขั้นตอนสุดท้ายให้คลายนิ้วที่บีบโดยยังไม่ยกนิ้วทั้งสองขึ้นจากเต้านม

3️⃣หากรู้สึกว่าบริเวณที่บีบอยู่เริ่มมีน้ำนมออกมาน้อย ให้หมุนตำแหน่งที่วางนิ้วทั้งสองไปรอบๆลานหัวนมแล้วทำการเค้นเพิ่มเติม จากนั้นจึงทำตามข้อ 3 วนไปจนกว่าจะได้ปริมาณที่พอใจ👌

4️⃣หากหมุนเปลี่ยนบริเวณลานหัวนมครบครอบแล้วรู้สึกว่าน้ำนมยังน้อยอยู่ให้เปลี่ยนไปบีบจากเต้าอีกข้างแทนค่ะ

5️⃣อาจใช้เครื่องปั๊มนมแทนได้หากใช้มือปั๊มเองแล้วรู้สึกไม่สะดวก โดยเครื่องปั๊มนมก็จะมีสองแบบหลักๆด้วยกัน แบบแรกคือเครื่องปั๊มนมธรรมดา แบบนี้จะค่อนข้างมีราคาที่ถูก แต่ต้องแลกกับระยะเวลาปั๊มที่นาน⏳ เพราะต้องใช้มือบีบเครื่องเอง ส่วนแบบที่สองจะเป็นเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า แม้จะมีราคาที่แพง💰ขึ้นแต่ก็แลกกับระยะเวลาในการปั๊มที่เร็วขึ้นค่ะ


สามารถปั๊มนมเก็บไว้ได้หรือไม่

เป็นสิ่งที่ทำได้ค่ะ แต่การปั๊มนมเก็บไว้เป็นสต็อคนั้นก็เพื่อลดจำนวนครั้งที่จะต้องมาปั๊มใหม่บ่อยๆ ดังนั้นคุณแม่บางท่านจะมีความคิดว่าต้องปั๊มให้ได้ปริมาณมากๆในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือปั๊มน้ำนมไม่ออก เมื่อปั๊มไม่ออกได้น้ำนมน้อย คุณแม่ก็อาจเกิดอาการเครียด🤯 ซึ่งก็ส่งผลให้น้ำนมน้อยลงไปใหญ่ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรเคร่งเครียดว่าจะต้องปั๊มน้ำนมเก็บสต็อคให้ได้เยอะๆเสมอไปค่ะ ข้อเสียอีกอย่างของการปั๊มนมเก็บไว้คือคุณแม่จะไม่ได้อุ้มเจ้าตัวน้อยกินนมบ่อยๆ🤱 เด็กก็จะได้รับการสัมผัสน้อยลง ซึ่งการสัมผัสจะช่วยให้ฮอร์โมนตัวหนึ่งในร่างกายที่ชื่อว่าออกซิโทซินหลั่ง ยิ่งหลั่งมากก็จะทำให้คุณแม่และเจ้าตัวน้อยรู้สึกผูกพันกันมากขึ้นค่ะ💞

เก็บน้ำนมแม่อย่างไรให้ปลอดภัย

✨ภาชนะใส่นมต้องเป็นภาชนะที่สะอาดและปลอดเชื้อ การล้างอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ต้องใช้ความร้อน♨️ ไม่ว่าจะเป็นการต้มในน้ำร้อนหรือการนึ่งเข้าช่วย ดังนั้นควรเลือกภาชนะที่สามารถทนความร้อนสูงได้ ไม่ก่อให้สารปนเปื้อนในน้ำนม

✨พยายามกะประมาณปริมาณนมในภาชนะให้พอดีกับที่ลูกจะดื่มแต่ละครั้ง เพราะการที่ลูกได้ดื่มไปแล้วหมายถึงนมในขวด🍼นั้นได้รับการปนเปื้อนไปแล้ว หากเหลือจะต้องเททิ้ง ไม่ควรเก็บไว้ให้ลูกดื่มอีกรอบหน้า

✨หลังปั๊มน้ำนมใส่ภาชนะเสร็จควรปิดภาชนะอย่างมิดชิดทันที

✨เขียนระบุวันที่✍️และเวลา🕓ที่ปั๊มนมเสร็จเอาไว้ ป้องกันการให้นมบูดแก่ลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ

✨ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนที่เย็นที่สุดเพื่อยืดอายุและคุณภาพของนม

     มาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านก็จะได้คำตอบเป็นที่เรียบร้อบแล้วในหลายๆประเด็นเกี่ยวกับการปั๊มน้ำนมของคุณแม่🤱 สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณแม่จะต้องพิจารณาเสมอคือความสะอาดของน้ำนม หากเจ้าตัวน้อยดื่มน้ำนมแล้วมีอาการผิดปกติในด้านการขับถ่าย คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจและเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์👨‍⚕️ทันทีค่ะ