post-title

โรคลมชักในเด็ก

     หากพูดถึง “โรคลมชัก”🫨 คุณผู้อ่านหลายท่านอาจเคยผ่านหูผ่านตากับคำนี้มาบ้างใช่ไหมคะ แต่หากถามถึงสาเหตุและอาการอาจจะนึกภาพได้ไม่ชัดเจนมากนัก วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกัน เพราะโรคลมชักนับเป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรเฝ้าระวังในเจ้าตัวน้อยเลยค่ะ💁‍♀️


โรคลมชักคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

อันที่จริงแล้ว การที่เราสามารถรับรู้และตอบสนองถึงสิ่งรอบตัวได้นั้น เกิดจากการทำงานระหว่างสารเคมีประเภทหนึ่งในร่างกายของเราที่เรียกว่า “สารสื่อประสาท”🧠 ค่ะ บางกรณีสารสื่อประสาทก็ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของสารเคมี แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า⚡️แทน โดยสัญญาณไฟฟ้านี้สามารถเกิดได้กับเซลล์ประสาททั่วร่างกายรวมถึงสมองด้วย หากการรับส่งสัญญาณไฟฟ้านี้มีความผิดปกติ ก็จะเป็นสาเหตุของโรคลมชักที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ได้ค่ะ ความผิดปกติของสัญญาณไฟฟ้านี้จะทำให้เด็กเกิดอาการชักเกร็ง🫨โดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งเร้ามากระตุ้นค่ะ อันที่จริงแล้วโรคลมชักนั้นสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย รวมถึงระยะที่เด็กยังอยู่ในท้องคุณแม่🤰เลยค่ะ

สัญญาณบ่งบอกของโรคลมชักในเด็ก

สำหรับสัญญาณบ่งบอกนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าสัญญาณไฟฟ้า⚡️ที่ผิดปกตินั้นเกิดขึ้นที่บริเวณส่วนไหนของสมอง แต่หากจะต้องจำแนกเพื่อให้สังเกตได้ง่าย จะสามารถจำแนกกลุ่มอาการได้ดังนี้ค่ะ

💫เด็กมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ คำว่าปกติในที่นี้หมายถึง อาจดูอ่อนแรงหรือรุนแรงกว่าปกติ มีอาการหายใจ😮‍💨ถี่และเสียงดัง📢ควบคู่ จนไปถึงมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งค่ะ และเมื่อชักจะไม่รู้ตัว เมื่อหายจากอาการชักจะจำไม่ได้ว่าตนเองชักค่ะ

💫เด็กมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเหม่อลอย😶 เรียกแล้วไม่หัน ไม่รู้สึกตัว มีการตอบสนองในด้านการดมกลิ่น👃และการได้ยิน👂ที่ผิดปกติ ความผิดปกติเกี่ยวกับความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเช่นนี้ส่งผลให้เด็กดูมีบุคลิกที่ทำอะไรช้า ลังเล มีท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ

สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก

👉เด็กมีความผิดปกติระหว่างการพัฒนาระบบประสาทและสมอง🧠ตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม🧬อีกทีค่ะ

👉คุณแม่อาจมีภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์🤰 ระหว่างคลอด รวมไปถึงหลังคลอด ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง

👉เด็กมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ ง่ายต่อการติดเชื้อก่อโรค🦠บางประเภท ที่มีผลเสียโดยตรงต่อการทำงานของสมอง หรืออาจเป็นผลข้างเคียงหลังติดเชื้อประเภทนั้นก็ได้ค่ะ

👉เด็กอาจมีก้อนเนื้องอกอยู่ในสมอง ซึ่งเป็นความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่ช่วงพัฒนาสมองตอนอยู่ในท้องคุณแม่🚼

👉เด็กอาจมีภาวะหลอดเลือดในสมอง🩸🧠อุดตันควบคู่ไปด้วย เป็นอาการลมชักที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างชัดเจนค่ะ


อาการที่เกิดขึ้นขณะเป็นลมชัก

✨เด็กชักในลักษณะที่ชักทั้งตัว โดยเด็กจะมีอาการชักกระตุกมากกว่า 2-3 นาทีเลยทีเดียวค่ะ⏰

✨เด็กจะชักในลักษณะที่เรียกว่าอาการชักเหม่อ😶 ลักษณะอาการก็จะตามชื่อเลยค่ะ คือเด็กจะมีอาการเหม่อหรือหยุดนิ่งไปประมาณครึ่งนาทีแล้วจู่ๆจะกลับมาเป็นปกติเอง

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

▶️ผู้ปกครองหรือสมาชิกท่านใดที่อยู่ใกล้เด็กมากที่สุดควรรีบตั้งสติ แล้วจัดแจงพื้นที่ให้เด็กอยู่ในที่โล่ง อากาศถ่ายเท🌬️ จับเด็กนอนราบแล้วพลิกตัวให้เด็กนอนตะแคงเพื่อป้องกันอาการสำลัก

▶️สำรวจว่าเสื้อผ้า🎽ของเด็กรัดแน่นไปหรือไม่ ถ้ารัดไปให้พยายามคลายออกให้สะดวกต่อการหายใจของเด็กมากที่สุด

▶️ห้ามนำอะไรเข้าปาก🙅‍♀️👄เด็กระหว่างชัก ไม่ต้องพยายามนวดบีบหรือทำอะไรที่ฝืนอาการชัก

▶️โทรเรียกรถพยาบาล🚑เพื่อนำตัวเด็กไปให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร็วที่สุดค่ะ

     โรคลมชักนั้นมีการแสดงออกของอาการในระดับที่น้อยจนไปถึงมาก หากเป็นการแสดงออกในระดับที่น้อย ผู้ปกครองหรือคนรอบตัวเด็กมักจะมองไม่เห็นหรือมองข้ามอาการตามที่กล่าวมา เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กได้รับการรักษาที่ล่าช้า ส่งผลให้อาการลมชักของเด็กรุนแรงได้ในอนาคตค่ะ ดังนั้นผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตบุตรหลานของตนเอง👶 หากมีอาการหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติควรรีบพาไปเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️อย่างรวดเร็วที่สุดค่ะ