กล้วยหอม🍌เป็นหนึ่งในผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายและมีประโยชน์มากในประเทศไทย แต่สำหรับทารกแรกเกิดนั้น กล้วยหอมยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์หรือไม่ ในทางกลับกันอาจเป็นผลไม้ที่ก่อโทษในเด็ก👶หรือเปล่า ควรให้เจ้าตัวน้อยรับประทานหรือไม่ เราจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปหาคำตอบกันค่ะ💁♀️
คุณแม่สามารถป้อนกล้วยให้ลูกได้หรือไม่
คำตอบคือทำได้ค่ะ ถ้าลูกมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แต่หากเจ้าตัวน้อยของคุณแม่มีอายุยังไม่ถึง 6 เดือนนั้น การป้อนกล้วยไม่ว่าจะในรูปแบบใดนับเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เด็กจะยังไม่สามารถย่อยกล้วยได้เต็มที่ แน่นอนว่าถ้าย่อยไม่ได้ก็ไม่สามารถดูดซึมมาใช้ได้ ถึงแม้กล้วย🍌จะเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย แต่หากร่างของของเด็กดูดซึมไปใช้ไม่ได้ก็เป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์ค่ะ0️⃣ เสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะขาดสารอาหาร ร้ายแรงกว่านั้นคือเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะ “ลำไส้อุดตัน”💩 ด้วยค่ะ ดังนั้นการให้นมแม่🤱เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของเจ้าตัวน้อยนั้นก็เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วค่ะ
รู้จักกับภาวะลำไส้อุดตันในทารก
ภาวะลำไส้อุดตันเกิดจากการที่มีอาหารชิ้นใหญ่ๆไปขวางกั้นลำไส้ ทำให้เด็กมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง🤢 ท้องอืด นำมาซึ่งอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน🤮 ไม่ผายลมตามปกติ มักจะเริ่มปวดในบริเวณหน้าท้องตำแหน่งใต้สะดือในกรณีที่เป็นลำไส้เล็กอุดตัน แต่หากเป็นลำไส้ใหญ่อุดตันตำแหน่งที่ปวดก็จะเคลื่อนที่ต่ำลงมาเล็กน้อย อันที่จริงแล้วภาวะนี้ไม่ได้เกิดได้กับเพียงทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่รับประทานกล้วย แต่ยังเกิดกับทารกที่มีอายุมากกว่าช่วงดังกล่าวได้👦 และอาจเกิดกับอาหารอื่นๆนอกจากกล้วยได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสำหรับเด็กแรกเกิด นมแม่จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ
สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกอาจกำลังมีภาวะลำไส้อุดตัน
👉มีอาการท้องผูกเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ทำให้ทารกรู้สึกอึดอัดท้อง มีพฤติกรรมร้องไห้งอแง😭
👉หากแก้ปัญหาอาการท้องอืดด้วยการสวนอุจจาระ💩 น้ำที่ออกมาจะมีลักษณะใส
👉ทารกมีอาการอาเจียนควบคู่🤮ไปด้วย ในช่วงแรกๆอาจมีเศษอาหารปนออกมา หลักจากนั้นจะมีของเหลวสีออกเขียวหรือน้ำตาลออกมาตาม และมีกลิ่นคล้ายอุจจาระของทารกเอง
👉หากคลำบริเวณท้องอาจพบก้อนแข็งคล้ายก้อนเนื้อ
วิธีการป้อนกล้วยให้ทารกที่อายุมากกว่า 6 เดือนรับประทาน
วิธีที่ 1️⃣
เลือกกล้วยที่มีเนื้อนิ่ม บดง่ายย่อยง่าย ยกตัวอย่างเช่นกล้วยน้ำว่าสุก🍌
วิธีที่ 2️⃣
ทำให้เนื้อกล้วยมีชิ้นเล็กลง ไม่ว่าจะด้วยการปั่น การบดขยี้ รวมไปถึงการขูดเนื้อกล้วยเพื่อป้อนเจ้าตัวน้อย🥣
วิธีที่ 3️⃣
กำหนดปริมาณให้เหมาะสม อาจเริ่มให้ลูกรับประทานเพียง 1 ใน 4 ส่วนของกล้วยทั้งลูกเท่านั้น และควรป้อนทีละน้อยๆ คำเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเคี้ยวของเด็ก😋
วิธีที่ 4️⃣
ให้เด็กใช้เวลาเคี้ยวนานๆ ไม่รีบป้อนจนเกินไป คอยตรวจสอบว่าเด็กเคี้ยวแต่ละคำหมดหรือยังจึงค่อยป้อนคำใหม่
สัญญาณผิดปกติหลังป้อนกล้วย
✨เด็กมีผื่นคันตามร่างกาย สังเกตได้ชัดว่าบริเวณปาก ลำคอ และลิ้นเกิดการบวม👅 หรือมีอาการลมพิษ🥵
✨ดวงตามีสีแดงซึ่งเกิดจากเส้นเลือดฝอยในตาแตก อาจมีอาการตาบวม👁️และคันตาควบคู่ไปด้วย
✨เด็กมีอาการจามและมีน้ำมูกไหล😪
✨เด็กหายใจถี่หอบถี่😮💨
✨เด็กร้องไห้งอแงจากการปวดท้อง มีการอาเจียน🤮และท้องเสียควบคู่ไปด้วย
สามารถสรุปได้ว่าจริงๆแล้วผลไม้ที่หาได้ง่ายและเป็นประโยชน์อย่างกล้วย🍌 ก็สามารถให้เด็กรับประทานได้ แต่ต้องพิจารณาเรื่องอายุของเด็กควบคู่ไปด้วย สำหรับเด็กที่อายุไม่ถึง 6 เดือนหรือเด็กแรกเกิด🚼นั้นไม่เป็นที่แนะนำ เพราะอาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์จากสารอาหารในกล้วยค่ะ หากคุณแม่ท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร และต้องการให้สารอาหารอื่นๆมาทดแทน ควรเขารับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨⚕️ก่อน ไม่ควรตัดสินใจเองค่ะ