post-title

อันตรายไหม? ลูกนอนหลับแล้วแต่ตาปิดไม่สนิท

     โดยปกติแล้วเวลาที่เรานอนหลับพักผ่อน😴 แน่นอนว่าดวงตาจะปิดสนิท👁️ใช่ไหมคะถ้าเกิดไม่ได้อยู่ในภาวะละเมอ แต่หากเจ้าตัวน้อยของเรากำลังนอนหลับแล้วตายังกรอกไปกรอกมาหรือเปลือกตาเปิดมากพอที่จะเห็นตาขาวก็ตาม แบบนี้ถือว่าเด็กกำลังนอนหลับหรือไม่ แล้วการนอนหลับแบบนี้มีสาเหตุมากจากอะไร เราไปดูกันเลยค่ะ💁‍♀️


รู้จักกับอาการนอนหลับแต่ปิดตาไม่สนิท

สำหรับภาวะดังกล่าว เป็นภาวะที่มีศัพท์เรียกเฉพาะว่า “Lagophthalmus” ค่ะ ซึ่งจริงๆแล้วอาการหรือภาวะนี้ไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายหรือสุขภาพของทารก👶เลยค่ะ เพียงแต่ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับทารกบางคนที่กำลังนอนหลับลึก💤 จึงมีสมมุติฐานออกมาว่าการที่เด็กนอนหลับลึกแต่ไม่ยอมปิดตาอาจเกิดจากการที่ระบบประสาท🧠ของเด็กมีการตื่นตัวค่อนข้างสูงค่ะ ดังนั้นอาการหรือภาวะนี้มักจะหายไปเองตอนที่เจ้าตัวน้อยโตขึ้นค่ะ

ทำไมเจ้าตัวน้อยจึงมีอาการนี้

สำหรับสาเหตุของอาการนี้ยังไม่เป็นที่ระบุชัดเจนค่ะ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นพฤติกรรมที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม🧬ได้ พูดง่ายๆคือในรุ่นของคุณพ่อคุณแม่👫 หรือสมาชิกคนใดในครอบครัวก็ตามอาจมีคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวค่ะ แต่ในบางกรณีนั้น ภาวะนี้ก็มีสาเหตุมาจากความผิดปกติบางอย่างของอวัยวะภายในร่างกายเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นภาวะกล้ามเนื้อดวงตา👁️ผิดปกติ เส้นประสาทหรือเส้นเลือดบริเวณใบหน้ามีความผิดปกติ จนไปถึงภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่ออย่างต่อมไทรอยด์เลยค่ะ

อาการนอนหลับไม่ปิดตาแบบไหนควรเฝ้าระวัง

เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาถูกควบคุมด้วยเส้นประสาทคู่ที่ 7 ที่มาจากสมองค่ะ แต่นอกจากเส้นประสาทคู่นี้จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อดวงตาแล้ว มันยังควบคุมกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆบริเวณใบหน้า👶ด้วย จึงเป็นไปได้ว่าอันที่จริงแล้วกล้ามเนื้อดวงตาและกล้ามเนื้อใบหน้านั้นสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ แต่เกิดความผิดปกติขึ้นที่เส้นประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อในกลุ่มดังกล่าวนั่นเอง โรคที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะเส้นประสาทคู่ดังกล่าวผิดปกติอีกที ก็อาจเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง👂 การติดเชื้อภายในสมอง🧠 จนไปถึงเกิดขึ้นอย่างไม่สามารถระบุสาเหตุได้เลยก็ได้ค่ะ

อาการผิดปกติที่อาจมีร่วมด้วย และบ่งบอกถึงอันตราย

✨หากเจ้าตัวน้อยมีอาการปากเบี้ยว ออกเสียงหรือพูดไม่ชัด😬 (ในกรณีที่เด็กอยู่ในวัยที่สามารถพูดได้แล้ว) ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️ทันทีค่ะ ตามที่กล่าวไปว่าเส้นประสาทคู่ที่ 7 จากสมองมีส่วนในการควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเช่นเดียวกัน ดังนั้นเส้นประสาทคู่ดังกล่าวจะควบคุมกล้ามเนื้อกลุ่มที่อยู่บริเวณปากของเด็กด้วยค่ะ อาการปากเบี้ยว🫦และพูดไม่ชัดจึงอาจบ่งงบอกว่าเส้นประสาทคู่ที่ 7 จากสมองกำลังมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง

✨เจ้าตัวน้อยมีอาการแสบตาและมีน้ำตาไหล😢ร่วมด้วย เป็นอาการที่บ่งบอกว่าภาวะนอนหลับปิดตาไม่สนิทนั้นทวีความรุนแรงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่มากขึ้น เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อก่อโรคบริเวณดวงตา👁️ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการมองเห็นจนไปถึงสูญเสียดวงตา👀เลยค่ะ


หากมีอาการ ควรแก้ไขด้วยวิธีไหน?

วิธีที่ 1️⃣

 👉คุณแม่สามารถช่วยปิดเปลือกตาของเจ้าตัวน้อยเบาๆได้ในระหว่างนอนหลับ😴ค่ะ

วิธีที่ 2️⃣

👉ในกรณีที่เด็กโตขึ้นมากแล้วแต่ยังไม่มีทีท่าว่าอาการจะดีขึ้น ควรนำเด็กเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยว่าลูกของเรามีความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นประสาทในสมอง🧠 กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าหรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆหรือไม่ค่ะ

     จะเห็นแล้วนะคะว่าอาการหรือภาวะนอนหลับไม่ปิดตานั้นพบได้ในเด็กอ่อน👶 เจ้าตัวน้อยมีแนวโน้มที่จะหายเองเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดไม่สบายใจ สามารถพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจร่างกายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️เพื่อวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หรือหากไม่มีความผิดปกติ แพทย์ก็อาจมีวิธีที่จะทำให้เด็กหายใจภาวะนี้ได้รวดเร็วมากขึ้นอยู่ดี เพราะฉะนั้นการไปตรวจร่างกายไว้ก่อนนั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อเจ้าตัวน้อยทั้งสิ้นค่ะ