ภาวะหรืออาการหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในเจ้าตัวน้อยหลายคนอย่างอาการ “ขาโก่ง” 🦵นั้น คงสร้างความลำบากใจให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย ภาวะนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เกิดขึ้นแล้วมีความเป็นอันตรายต่อตัวเด็กเองมากน้อยแค่ไหน ในอนาคตมีโอกาสหายได้เองหรือไม่ ผู้ปกครองสามารถรักษาได้เองหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ💁♀️
รู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนเรียกขาโก่ง
ภาวะขาโก่งนั้นถูกระบุความหมายโดนชัดเจนไว้ว่า เป็นภาวะที่ลักษณะขาท่อนล่าง🦵ของเด็กนั้นมีความงอจนทำมุมกับขาท่อนบน (แม้จะยืนตรงๆ) จนดูเหมือนมีลักษณะบิดออกด้านนอกหรือบิดเข้าด้านใน ภาวะนี้มักพบหรือสังเกตได้ง่ายในเด็กเล็ก👶 ผู้ปกครองส่วนมากมักสังเกตได้ในช่วงที่เจ้าตัวน้อยมีอายุประมาณ 1 ขวบซึ่งเป็นช่วงพึ่งหัดเดิน🚶♂️นั่นเอง อาการขาโก่งนั้นไม่ได้🙅♀️บ่งบอกว่าลูกของเรากำลังเป็นโรคหรือมีความผิดปกติของร่างกายได้เพียงอย่างเดียว เพราะอันที่จริงแล้วเด็กอาจมีภาวะขาโก่งที่มาจากการเติบโตโดยธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตามวัย แต่ก็มีอาการขาโก่งที่นับว่าเป็นโรคเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นอาการขาโก่งจากการที่เนื้อเยื่อมีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติค่ะ
อาการขาโก่งแบบธรรมชาติ
1️⃣สำหรับเด็กเล็กในช่วง 0-2 ปีแรก🚼 แทบทุกคนนั้นจะมีลักษณะกระดูกขาที่โก่งออกไปภายนอกเป็นปกติค่ะ เพราะเป็นท่าทางเดิมจากตอนที่อยู่ในครรภ์🤰 ประกอบกับเป็นท่าทางที่จะช่วยให้เด็กที่พึ่งเริ่มหัดยืนหรือหัดเดิน สามารถรักษาสมดุลการทรงตัวได้ง่ายที่สุด
2️⃣สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาเล็กน้อย👶 มีอายุอยู่ในช่วง 2-5 ปี ขาที่ค่อนข้างโก่งจะบิดกลับมาเข้าด้านในมากขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นของอาการขาโก่งโดยธรรมชาติค่ะ
3️⃣สำหรับเด็กที่มีอายุมากขึ้น👦 มีช่วงอายุระหว่าง 4-7 ปี คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าเด็กกลับมามีอาการขาโก่งอีกรอบ แต่รอบนี้เป็นลักษณะโก่งเข้าด้านในเล็กน้อยค่ะ
4️⃣สำหรับเด็กที่ค่อนข้างโตแล้ว👨 หรือเด็กที่สามารถเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม คล่องแคล่ว และมั่นคง ซึ่งก็คือเด็กที่มีอายุในช่วง 7 ปีขึ้นไปนั่นเอง แนวโน้มของขาที่โก่งเข้าไปด้านในจะมีความตรงขึ้น จนลักษณะขาโก่งนั้นหายไป มีท่อนขาที่เป็นแนวตรงในที่สุดค่ะ
อาการขาโก่งแบบเป็นโรคสังเกตได้อย่างไร
วิธีการสังเกตลูกขาโก่งแบบเป็นโรค
👉ตามที่กล่าวไปก่อนหน้าว่า เด็กๆจะหายจากอาการขาโก่งได้เองเมื่อมีอายุประมาณ 7 ปีขึ้นไป แต่อันที่จริงแล้วแนวโน้มของอาการขาโก่งควรจะดีขึ้น พูดง่ายๆคือมันควรจะดูตรงขึ้นตั้งแต่ตอนที่เด็กมีอายุประมาณ 2 ปีค่ะ ดังนั้นหากเจ้าตัวน้อยของคุณพ่อคุณแม่👫ไม่มีทีท่าว่าอาการดังกล่าวจะดีขึ้นเลย อาจเป็นสัญญาณผิดปกติของการเจริญเติบโตในร่างกายเด็กได้ค่ะ
👉ปกติแล้วหากเด็กขาโก่งแบบธรรมชาติ ขาควรจะมีลักษณะโก่งเท่ากัน🦵หรือพอๆกันทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นหากเจ้าตัวน้อยมีอาการโก่งข้างเดียว หรือโก่งทั้ง 2 ข้างแต่ระดับความโก่งไม่เท่ากันอย่างสังเกตได้ชัดเจน ก็อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของการเจริญเติบโตได้เช่นกันค่ะ
👉หากเจ้าตัวน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีภาวะขาโก่งร่วมกับภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน🐖 ก็จะมีความเสี่ยงสูงค่ะที่จะเป็นโรคขาโก่งแบบผิดปกติ
👉สำหรับเจ้าตัวน้อยบางคนที่เริ่มเดินได้🚶♂️เร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะขาโก่งแบบเป็นโรคเช่นเดียวกันค่ะ
สามารถดัดขาให้หายโก่งด้วยตนเองได้หรือไม่
ต้องขอยืนยันว่าไม่ได้และไม่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ🙅♀️ เนื่องจากการดัดขาโดยผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเชิงกายภาพบำบัดจะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อเด็ก สร้างอันตรายต่ออวัยวะในร่างกายเด็กได้ ซึ่งอาจร้ายแรงจนถึงกระดูกหัก🦴เลยค่ะ
ในด้านของความเชื่อสมัยก่อนที่ยังส่งต่อมาถึงตอนนี้ อย่างความเชื่อที่ว่า ถ้าให้ลูกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแล้วลูกจะขาโก่ง หรือการอุ้มเด็กในลักษณะเข้าสะเอว🤱จะทำให้เด็กขาโก่งนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนว่าจะทำให้ขาโก่งจริง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้โดยไม่ต้องกังวลนะคะ ตามที่กล่าวไปเลยค่ะ ว่าเมื่อเด็กโตขึ้นอาการขาโก่งก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง แต่หากไม่ดีขึ้นผู้ปกครองควรพาเด็กเข้าตรวจร่างกายกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨⚕️โดยทันทีค่ะ