post-title

กดดันลูกมากเกินไป ลูกเสี่ยงเป็นโรคจิต!

     เป็นที่ทราบกันดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน👫ว่าความคาดหวังในตัวเจ้าตัวน้อยนั้นอาจเป็นไปได้โดยทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ผู้ปกครองล้วนคาดหวังในสิ่งที่คิดว่าดีต่อเด็ก👦ในทั้งปัจจุบันและอนาคต ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะในช่วงวัยเด็กที่ยังไม่สามารถเลือกหรือวางแผนการใช้ชีวิตของตนเองได้ การได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกตรองก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ความคาดหวังและความช่วยเหลือต้องมากหรือน้อยเพียงใดจึงจะจัดว่าพอดีและไม่สร้างปัญหาทางด้านจิตใจแก่เจ้าตัวน้อย บทความนี้จะชวนคุณผู้อ่านมาวิเคราะห์กันค่ะ💁‍♀️


ความคาดหวังที่มากเกินไปอาจนำไปสู่การกดดัน

เมื่อเราคาดหวังในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งที่จะตามมาก็มีอยู่เพียงสองทาง นั่นคือสมหวัง🙂หรือผิดหวัง🙁 แน่นอนว่าทุกคนอยากสมหวัง เช่นเดียวกับการที่เราคาดหวังในตัวผู้อื่น กับบางคนแม้เราจะคาดหวังแต่เราก็ไม่สามารถบังคับการกระทำและการตัดสินใจของเขาได้ แต่ผู้ที่มีอำนาจทางสังคมน้อยกว่า หนึ่งในนั้นคือลูก👦ของเราเอง การคาดหวังว่าเด็กจะต้องเป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ เป็นการกดดันเด็กแบบกลายๆค่ะ คงไม่ผิดอะไรถ้าผู้ปกครองจะคาดหวังให้เด็กเป็นคนดี มีอนาคตที่ดี ปัญหาคือคำว่า “ดี” 💯ของเราอาจถูกนิยามไม่เหมือนกันแล้วแต่สภาพและบริบททางสังคม หากเด็กรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกคาดหวังให้เป็นหรือให้ทำในสิ่งที่พ่อแม่เรียกว่า “ดี” มากเกินไป เด็กอาจรู้สึกถูกกดดันได้ค่ะ

เรื่องที่ผู้ปกครองอาจกดดันลูกโดยไม่รู้ตัว

🍽️เรื่องอาหารการกิน 

แน่นอนว่าการที่คุณพ่อคุณแม่จัดการมื้ออาหาร🍲ให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เพียงพอ ในปริมาณที่เหมาะสมนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะสารอาหารนั้นส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็กเล็ก แต่หากผู้ปกครองเคร่งครัดเกินไป เช่น การบังคับให้เด็กต้องรับประทานอาหารที่ตนเองไม่ชอบ😖 แต่มีประโยชน์เป็นประจำ หรือการห้ามเด็กรับประทานอาหารขยะ🍟 ขนมขบเคี้ยวอย่างเด็ดขาด การกระทำเช่นนี้แม้จะมาจากความหวังดี แต่มันอาจเป็นการกดดันซึ่งส่งผลให้เจ้าตัวน้อยไม่มีความสุขในเวลาต่อมาได้ค่ะ ดังนั้นเราควรใช้วิธีโน้มน้าว ชักชวน นำเสนอถึงประโยชน์และโทษของการกระทำ และถามความคิดเห็นของเด็ก💭 เพื่อที่ให้เด็กรู้สึกได้เลือกเองตามความสมัครใจค่ะ

🪩เรื่องกิจกรรมบันเทิง 

สำหรับเด็กเล็กแล้วกิจกรรมที่ให้ความบันเทิงคงหนีไม่พ้นการเล่นนอก🛝บ้านใช่ไหมคะ ซึ่งก็อาจจะมีความโลดโผนบ้างอย่างการปีนป่าย🧗‍♂️ อาจเป็นอันตรายต่อตัวเด็กเองได้ แต่ในขณะเดียวกัน การเล่นโลดโผนก็มีส่วนในการพัฒนาความสามารถด้านการเคลื่อนไหวของเด็ก คล้ายกับการได้ออกกำลังกาย ดังนั้นหากผู้ปกครองประเมินแล้วว่ากิจกรรมใดไม่เสี่ยงเกินไป ก็อาจจะเคร่งครัดกับเจ้าตัวน้อยลดลง อนุญาตให้ทำได้แต่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดแทนค่ะ


อาการที่บ่งบอกว่าลูกโดนกดดันจนเสี่ยงเป็นจิตเวช

อาการที่ 1️⃣

👉เด็กมีอาการวอกแวก🤪 ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้เป็นระยะเวลานานๆ ไม่มีสมาธิกับสิ่งที่กำลังทำอยู่

อาการที่ 2️⃣

👉เด็กอยู่ไม่นิ่ง🫨 เคลื่อนที่และเคลื่อนไหวมากผิดปกติ อาจเป็นผลกระทบมาจากข้อด้านบน คือไม่มีสมาธิจนอยู่นิ่งนานๆไม่ได้นั่นเอง

อาการที่ 3️⃣

👉ไม่มีการประมวลผลที่รอบคอบก่อนลงมือทำอะไรก็ตาม นำมาสู่ผลเสียหลังการกระทำบ่อยๆ

อาการที่ 4️⃣

👉ไม่สามารถทำตามคำสั่งได้😩 หรือทำได้แต่ทำได้แบบไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือไม่เรียบร้อย

อาการที่ 5️⃣

👉มีอาการเหม่อ😶 ใจลอย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า

     จะเห็นแล้วนะคะว่าความคาดหวังที่มากเกินไปต่อตัวลูก อาจกลายเป็นความกดดันที่มีแต่จะส่งผลเสียให้เด็กในระยะยาว ดังนั้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทราบตนเองดีว่ามีความคาดหวังในตัวเด็กค่อนข้างสูง อาจเปลี่ยนความแสดงออกซึ่งเป็นผลจากการคาดหวัง จากการกดดันมาเป็นการนำเสนอมุมมองใหม่ๆให้รอบด้าน💭 ให้เจ้าตัวน้อยได้รับรู้ถึงทางเลือก ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกที่ถูกนำเสนอ แล้วถามความคิดเห็นของเด็กว่าอยากเลือกทำแบบใด เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าได้เลือกใช้ชีวิตด้วยตนเอง แต่ก็ยังมีผู้ปกครองคอยเป็นผู้สนับสนุน👏และเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่ว่าผลจากการกระทำจะออกมาดีหรือไม่ดีเพียงใดก็ตามค่ะ